วันพุธที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

เช่าทรัพย์

มีคนสรุปมาจากคำบรรยาย สมัยไหนก็จำไม่ได้แล้ว เปิดเจอไฟล์เก่าในฮาร์ดดิสก์ ไม่ได้ระบุชื่ออาจารย์ผู้บรรยายไว้
เช่าทรัพย์
การเช่าทรัพย์ คือสัญญาที่มีบุคคลอยู่สองฝ่าย ฝ่ายแรกคือผู้ให้เช่า ฝ่ายที่สองคือผู้เช่า ทั้งสองฝ่ายต่างก็มีหนี้ที่จะต้องชำระให้แก่กันและกัน โดยฝ่ายผู้ให้เช่ามีหนี้ที่จะต้องให้ผู้เช่าได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์ที่เช่า ส่วนฝ่ายผู้เช่าก็มีหนี้ที่จะต้องชำระค่าเช่าเป็นการตอบแทน
การเช่าทรัพย์นั้น ผู้ให้เช่าไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่เช่า เพียงแต่มีสิทธิครอบครองหรือสิทธิใดๆก็ตามที่สามารถจะใช้สอยทรัพย์สินนั้นได้ก็พอ
การเช่าอสังหาริมทรัพย์ จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิด มิฉะนั้นจะฟ้องร้องกันไม่ได้ หมายถึงว่า ถ้าคุณจะเช่าอสังหาริมทรัพย์กันโดยไม่ต้องทำสัญญากันก็ได้ แต่หากว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเบี้ยวขึ้นมาไม่ปฏิบัติตามสัญญา อีกฝ่ายหนึ่งก็ไม่สามารถที่จะนำเรื่องการผิดสัญญานั้นมาฟ้องร้องบังคับคดีกันที่ศาลได้เท่านั้นเอง แต่ถ้ามีสัญญาต่อกันไว้แล้วเกิดฝ่ายใดเบี้ยวไม่ปฏิบัติตามสัญญา อีกฝ่ายหนึ่งก็สามารถฟ้องร้องต่อศาลให้ฝ่ายที่ผิดสัญญานั้นปฏิบัติตามสัญญาหรืออาจจะเรียกค่าเสียหายได้
กำหนดเวลาในการเช่าอสังหาริมทรัพย์จะต้องไม่เกิน 3 ปี ถ้ามีการทำสัญญากันไว้เกิน 3 ปี จะมีผลบังคับกันได้เพียงแค่ 3 ปีเท่านั้น
กรณีที่ต้องการเช่าอสังหาริมทรัพย์กันเกิน 3 ปี นอกจากจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดแล้ว จะต้องนำไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งก็คือเจ้าหน้าที่ที่สำนักงานที่ดินด้วย จึงจะบังคับกันได้ แต่อย่างไรก็ตาม กฎหมายก็บังคับไว้อีกว่าจะเช่ากันเกิน 30 ปีไม่ได้ หากเช่ากันเกิน 30 ปี ก็จะมีผลบังคับกันได้เพียง 30 ปีเท่านั้น และเมื่อครบ 30 ปีแล้วต้องมาทำสัญญากันใหม่
นอกจากนี้ยังสามารถที่จะกำหนดเวลาการเช่าว่าตลอดอายุของผู้ให้เช่าหรือผู้เช่าก็ได้ แต่จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วย
ผู้เช่าจะนำทรัพย์สินที่เช่าไปนั้นไปให้ผู้อื่นเช่าช่วงต่อ หรือจะโอนสิทธิการเช่าให้แก่บุคคลอื่นไม่ว่าทั้งหมดหรือแต่บางส่วนไม่ได้ เว้นแต่จะมีข้อตกลงกันไว้ในสัญญา มิฉะนั้น ผู้ให้เช่ามีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาได้
กรณีที่ผู้เช่ามีสิทธินำทรัพย์สินที่เช่าไปให้ผู้อื่นเช่าช่วงได้นั้น กฎหมายบอกว่าผู้เช่าช่วงจะต้องรับผิดต่อผู้ให้เช่าเดิมโดยตรง หมายถึงว่า ผู้เช่าช่วงนั้นจะต้องผูกพันในหน้าที่และความรับผิดในการเช่าโดยตรงต่อผู้ให้เช่าเดิม มิใช่ผูกพันในหน้าที่และความรับผิดต่อผู้เช่า
ผู้ให้เช่าเดิม(เจ้าของทรัพย์สิน)----->เ ผู้เช่าทรัพย์ ----------->เ ผู้เช่าช่วง
มีบางกรณีที่ผู้เช่าช่วงได้ชำระค่าเช่าให้แก่ผู้เช่าไปแล้ว แต่ปรากฏว่าผู้เช่ามิได้นำเงินค่าเช่านั้นไปชำระให้แก่ผู้ให้เช่าเดิม ผู้ให้เช่าเดิมก็เลยฟ้องขับไล่ผู้เช่าช่วง กรณีนี้ผู้เช่าช่วงไม่สามารถจะอ้างว่าตนเองได้ชำระค่าเช่าให้แก่ผู้เช่าไปแล้วขึ้นต่อสู้กับผู้ให้เช่าเดิมได้
หน้าที่และความรับผิดของผู้ให้เช่า
1. ผู้ให้เช่าจะต้องส่งมอบทรัพย์สินที่ให้เช่าแก่ผู้เช่าในสภาพอันซ่อมแซมดีแล้ว
2. ต้องซ่อมแซมทรัพย์สินที่เช่าในระหว่างการให้เช่า และรับผิดชดใช้ค่าใช้จ่ายที่ผู้เช่าเสียไปเพื่อรักษาทรัพย์สิน เว้นแต่ค่าใช้จ่ายเพื่อบำรุงรักษาตามปกติและเพื่อซ่อมแซมเพียงเล็กน้อย
3. ถ้าผู้ให้เช่าส่งมอบทรัพย์สินที่เช่า ในสภาพที่ไม่เหมาะแก่การที่ผู้เช่าจะใช้เพื่อประโยชน์ที่เช่ามา ผู้เช่าก็มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้
หน้าที่และความรับผิดของผู้เช่า
1. จะต้องใช้ทรัพย์สินที่เช่าตามข้อตกลงในสัญญา หรือตามประเพณีนิยมปกติ
2. จะต้องสงวนทรัพย์สินที่เช่า เช่นเดียวกับบุคคลทั่วไปที่ใช้สอยทรัพย์สินของตนเอง หมายถึงว่าถ้าบุคคลทั่วไปใช้ความระมัดระวังในการใช้ทรัพย์สินนั้นเช่นไร ก็จะต้องใช้ทรัพย์สินที่เช่าให้มีลักษณะเดียวกัน มิใช่ว่าเห็นเป็นทรัพย์สินที่เช่ามิใช่ของตนจึงใช้โดยไม่ดูแลรักษาปล่อยให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สิน และจะต้องบำรุงรักษารวมทั้งซ่อมแซมเล็กน้อยด้วย
3. จะต้องยอมให้ผู้ให้เช่าหรือตัวแทนของผู้ให้เช่าตรวจดูทรัพย์สินที่เช่านั้นเป็นครั้งคราว ในเวลาและระยะอันสมควร
4. หน้าที่ในการชำระค่าเช่า
5. ผู้เช่าจะทำการดัดแปลงหรือต่อเติมทรัพย์สินที่เช่านั้นมิได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้ให้เช่าก่อน
6. เมื่อสัญญาได้เลิกกันหรือมีเหตุให้สัญญานั้นระงับไป ผู้เช่าจะต้องส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าในสภาพที่ซ่อมแซมดีแล้ว เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าทรัพย์สินนั้นมิได้มีการซ่อมแซมมาตั้งแต่ก่อนเช่าแล้ว
7. จะต้องรับผิดในความสูญหายหรือบุบสลายอันเกิดแก่ทรัพย์สินที่เช่า เพราะความผิดของผู้เช่าหรือบุคคลซึ่งอยู่กับผู้เช่า หรือของผู้เช่าช่วง
ความระงับแห่งสัญญาเช่า
กรณีที่สัญญาเช่ามีกำหนดเวลา สัญญาเช่าจะระงับไปเมื่อถึงกำหนดเวลาตามสัญญา โดยที่ผู้ให้เช่าไม่ต้องบอกกล่าวแก่ผู้เช่า ฉะนั้น เมื่อครบกำหนดเวลาตามสัญญาแล้วผู้เช่าไม่ยอมออกไป ผู้ให้เช่ามีสิทธิฟ้องขับไล่ได้ทันที แต่ถ้าครบกำหนดเวลาตามสัญญาเช่าแล้ว ผู้เช่ายังอยู่ต่อและผู้ให้เช่าก็มิได้ทักท้วง กรณีเช่นนี้จะถือว่าเป็นการทำสัญญาเช่ากันใหม่ต่อไปแบบไม่มีกำหนดระยะเวลา ซึ่งการบอกเลิกสัญญาเช่าแบบไม่มีกำหนดระยะเวลานี้ ผู้ที่บอกเลิกจะต้องมีการบอกกล่าวล่วงหน้าก่อน
กรณีที่ไม่มีกำหนดเวลาในการเช่า ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกเลิกสัญญาในขณะเมื่อสุดระยะเวลาชำระค่าเช่าได้ทุกระยะ แต่ต้องบอกกล่าวให้รู้ตัวก่อนชั่วกำหนดเวลาชำระค่าเช่าระยะหนึ่งเป็นอย่างน้อย แต่ไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวล่วงหน้ากว่า 2 เดือน
ตัวอย่าง นาย ก. เช่าบ้านนาย ข. อยู่ มีกำหนดชำระค่าเช่าภายในวันที่ 1 ของทุกๆเดือน เมื่อวันที่ 31 มิถุนายน 2544 นาย ก. ต้องการบอกเลิกสัญญาเช่า จึงนำค่าเช่าไปชำระให้แก่นาย ข. ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2544 และบอกเลิกสัญญาเช่ากับนาย ข. ในวันนั้น การบอกเลิกสัญญาของนาย ก. นี้จะยังไม่มีผลทันที แต่จะมีผลเป็นอันเลิกกันก็คือวันที่ 1 สิงหาคม 2544 ถ้าพูดง่ายๆก็คือต้องบอกเลิกสัญญาล่วงหน้าอย่างน้อย 1 เดือน
ส่วนกรณีที่ชำระค่าเช่ากันเป็นรายสามเดือน หกเดือน หรือหนึ่งปี ก็บอกเลิกสัญญากันล่วงหน้าสัก 2 เดือนก็ใช้ได้แล้ว ไม่จำเป็นต้องบอกเลิกสัญญาเช่ากันล่วงหน้าเป็นสามเดือน หกเดือน หรือหนึ่งปี
การบอกเลิกสัญญานั้น บางครั้งในทางปฏิบัติก็มิได้ทำกันตามที่กฎหมายกำหนดไว้ แต่ก็ไม่มีความผิดอะไร เพียงแต่ถ้ามีปัญหากันจนมีการฟ้องศาลแล้วละก็ ศาลจึงจะนำวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้มาชี้ผิดชี้ถูก
สัญญาเช่าเป็นอันระงับไป ถ้าทรัพย์สินที่เช่านั้นสูญหายไปทั้งหมด
การโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่าไม่เป็นเหตุให้สัญญาเช่านั้นระงับไป
ผู้ที่รับโอนนั้นจะต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้ให้เช่าที่มีต่อผู้เช่า สิทธิและหน้าที่ที่รับไปนั้น จะต้องเป็นสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าเท่านั้น ข้อตกลงอย่างอื่นต่างหากจากการเช่าย่อมไม่โอนตามไปด้วย
ผู้รับโอนที่จะต้องรับโอนสิทธิและหน้าที่ไปนั้น จะต้องเป็นกรณีที่มีการทำสัญญากันโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงาน หากเป็นกรณีที่ตกลงเช่ากันโดยปากเปล่า สิทธิและหน้าที่ของผู้ให้เช่าย่อมจะไม่โอนไปยังผู้รับโอน อายุความ ผู้ให้เช่าจะฟ้องผู้เช่าเกี่ยวกับสัญญาเช่านั้น จะต้องฟ้องภายในเวลาหกเดือนนับแต่วันที่ผู้เช่าส่งคืนทรัพย์สินที่เช่า
หลักกฎหมายเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินนั้น เป็นกฎหมายที่มีบทบังคับว่าเจ้าหนี้ หรือผู้ให้กู้ จะต้องมีเอกสารหลักฐานการกู้เงินไว้ โดยให้ลูกหนี้หรือผู้กู้ลงลายมือชื่อไว้ในหลักฐานนั้น มิฉะนั้น ผู้ให้กู้อาจจะต้องสูญเงินไปได้ เนื่องจากข้อบังคับของกฎหมาย ซึ่งเขียนไว้ว่า การกู้ยืมเงินเกินกว่า 50 บาทขึ้นไป ต้องมีหลักฐานการกู้ยืมเงินและลงลายมือชื่อผู้ที่ต้องรับผิดไว้ จึงจะสามารถฟ้องร้องบังคับคดีได้ ส่วนลูกหนี้ เมื่อนำเงินไปชำระให้แก่เจ้าหนี้แล้ว จะต้องให้เจ้าหนี้ทำหลักฐานการรับเงินไว้ มิฉะนั้น หากถูกฟ้องขึ้นมา จะไม่มีหลักฐานการชำระเงินแสดงต่อศาล ผลก็คือจะต้องชำระหนี้เป็นรอบที่สอง โดยไม่มีข้อโต้แย้ง
อีกอย่างคือ หนี้เงินกู้นั้น ถ้ามีมูลหนี้มาจากสิ่งที่ไม่ถูกกฎหมายละก็ ไม่สามารถนำมาฟ้องร้องกันได้ เช่น เป็นหนี้จากการพนันแล้วเขียนสัญญาเงินกู้ไว้ เป็นต้น
หากคุณอยู่ในฐานะเหล่านี้ คุณมีสิทธิและหน้าที่แค่ไหน
เมื่อคุณเป็นเจ้าหนี้
หากวันนี้คุณอยู่ในฐานะที่เป็นเจ้าหนี้ หรือกำลังจะเป็นเจ้าหนี้ สิ่งที่คุณจะต้องมีหรือต้องทำก็คือ สัญญาเงินกู้ ซึ่งสัญญานี้คุณจะเขียนขึ้นเอง หรือจะไปซื้อตามที่มีขายในท้องตลาดก็ได้ แต่ประเด็นสำคัญของสัญญาอยู่ตรงที่ เมื่ออ่านข้อความในสัญญาแล้ว จะต้องจับใจความว่า ใครเป็นผู้กู้ กู้ไปเท่าไร และมีการลงลายมือชื่อของผู้กู้ไว้ด้วย เพียงเท่านี้คุณก็สามารถที่จะนำไปฟ้องร้องบังคับคดีได้แล้ว ส่วนเรื่องอื่นๆคุณอาจจะเพิ่มเติมไปได้ เช่น
เรื่องอัตราดอกเบี้ย ในเรื่องดอกเบี้ยนี้ กฎหมายให้สิทธิคุณไว้ที่อัตราร้อยละ 15 ต่อปีเท่านั้น (ยกเว้นพวกที่เป็นธนาคารหรือสถาบันการเงิน) หากคุณเรียกเกินกว่านี้ก็จะเป็นโมฆะในส่วนของดอกเบี้ย คือเรียกดอกเบี้ยไม่ได้ แต่ในส่วนของเงินต้นยังเรียกคืนได้ แต่หากคุณไม่ได้กำหนดเรื่องอัตราดอกเบี้ยไว้ในสัญญา คุณก็สามารถเรียกได้แค่ ร้อยละ 7.5 ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนดไว้ให้คุณแล้ว นอกจากนี้ หากลูกหนี้ไม่เคยชำระหนี้คุณเลย คุณก็สามารถที่จะเรียกดอกเบี้ยที่ค้างชำระได้เพียง 5 ปีเท่านั้น
ระยะเวลาการชำระหนี้
ผลของการกำหนดระยะเวลาชำระหนี้คือ
1. ถ้าคุณกำหนดระยะเวลาการชำระหนี้ไว้
ผลดีก็คือ ระยะเวลาการนับอายุความจะยังไม่เริ่มนับจนกว่าจะถึงเวลาที่กำหนด
ผลเสียก็คือ สิทธิในการเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ยังไม่เริ่ม จนกว่าจะถึงกำหนด นั่นหมายความว่า หากยังไม่ถึงกำหนดเวลาที่ต้องชำระหนี้ คุณยังไม่มีสิทธิไปฟ้องเขานั่นเอง
2. หากว่าไม่ได้กำหนดระยะเวลาการชำระหนี้ไว้
ผลดีก็คือ คุณสามารถที่จะเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้เมื่อไรก็ได้ แต่คุณต้องแจ้งให้ลูกหนี้ทราบเป็นหนังสือและกำหนดระยะเวลาให้เขาก่อน ว่าให้นำมาชำระภายในกี่วัน เช่น 7 วัน หรือ 15 วัน ก็แล้วแต่คุณ หากไม่ชำระให้คุณภายในเวลาที่กำหนด คุณก็สามารถฟ้องร้องได้ทันที
ผลเสียก็คือระยะเวลาในการนับอายุความจะเริ่มนับทันที นั่นก็คือคุณจะต้องฟ้องร้องคดีต่อศาลภายในเวลากำหนดอายุความ มิฉะนั้น คุณจะหมดสิทธิที่จะฟ้องร้องบังคับคดีทันที
เมื่อคุณทราบถึงผลดีผลเสียแล้ว เป็นเรื่องของคุณที่จะพิจารณาว่า จะนำวิธีใดไปใช้ที่คุณคิดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อตัวคุณเอง
เมื่อคุณเป็นลูกหนี้
คำว่าลูกหนี้คงไม่มีใครอยากจะเป็น แต่ถ้าจะต้องเป็นจริงๆแล้ว ควรคำนึงถึงสิทธิและหน้าที่ของตนเองให้ดี เมื่อคุณอยู่ในฐานะของลูกหนี้ คุณมีโอกาสที่จะถูกเอาเปรียบได้ตลอดเวลา ถ้าไม่ยอมเขาก็จะไม่ได้กู้ เมื่อถึงตาจนเข้ายังไงก็ต้องยอม ฉะนั้น หากคุณสามารถที่จะรักษาสิทธิของตนเองได้มากเท่าไร ก็จะเป็นผลดีต่อคุณมากเท่านั้น สิ่งที่คุณจะต้องพึงระวังคือ
ประการแรก เมื่อวันที่คุณไปกู้ยืมเงินจากเจ้าหนี้ หากเจ้าหนี้ให้คุณทำสัญญา ก่อนที่คุณจะลงลายมือชื่อในสัญญานั้น คุณจะต้องอ่านข้อความในสัญญาให้ดี ว่าจำนวนเงินที่เขียนไว้ตรงกับจำนวนเงินที่คุณกู้หรือเปล่า อย่าปล่อยปละละเลย มิฉะนั้น ถ้าเจ้าหนี้ฟ้องคุณ คุณไม่สามารถที่จะยกเป็นข้อโต้แย้งใดๆได้เลย และอย่าลงลายมือชื่อในกระดาษเปล่าๆ จะมีผลเสียต่อคุณเหมือนกัน
ประการที่สอง อัตราดอกเบี้ย กฎหมายกำหนดไว้ให้เรียกดอกเบี้ยกันได้ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปีเท่านั้น(ยกเว้นพวกธนาคารหรือสถาบันการเงิน) หากเรียกกันเกินกว่าที่กำหนดไว้ก็จะเป็นโมฆะในส่วนของดอกเบี้ย แต่เงินต้นยังคงอยู่ ซึ่งเรื่องดอกเบี้ยนั้นสามารถใช้ยกขึ้นอ้างเป็นข้อต่อสู้ในศาลได้
ประการที่สาม หากมีกำหนดระยะเวลาการชำระหนี้กันไว้ คุณมีสิทธิที่จะชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ก่อนถึงกำหนดได้ แต่เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิจะเรียกให้คุณชำระก่อนจะถึงกำหนดได้ เว้นเสียแต่ว่าในสัญญาเงินกู้นั้นมีเงื่อนไขหรือข้อสัญญาอื่นๆอีก แล้วระบุไว้ว่าหากคุณผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใดให้ถือว่าผิดสัญญาทั้งหมด เมื่อเป็นเช่นนี้เจ้าหนี้ก็มีสิทธิฟ้องคุณได้ก่อนถึงระยะเวลาการชำระหนี้ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ เมื่อไปกู้เงินจากธนาคาร ธนาคารจะให้คุณผ่อนคืนเป็นรายเดือนโดยกำหนดจำนวนเงินไว้ในแต่ละเดือน นี่ก็คือข้อสัญญาหรือเงื่อนไข ซึ่งหากคุณไม่ชำระหนี้ให้เขาตามที่กำหนด ก็ถือว่าคุณผิดสัญญาหรือผิดเงื่อนไขกับธนาคารแล้ว ธนาคารมีสิทธิที่จะเรียกเงินคืนทั้งหมดได้ และหากคุณไม่คืน ธนาคารก็จะฟ้องคุณ โดยไม่ต้องไปดูว่าจะถึงกำหนดชำระหนี้เมื่อใด
ประการที่สี่ การคิดดอกเบี้ยทบต้น ไม่สามารถทำได้ ฉะนั้น หากเจ้าหนี้คิดดอกเบี้ยทบต้นกับคุณ คุณไม่จำเป็นต้องจ่าย
ประการที่ห้า เมื่อคุณนำเงินไปชำระให้แก่เจ้าหนี้แล้ว หากชำระเป็นบางส่วนไม่ชำระทั้งหมด คุณจะต้องให้เจ้าหนี้ออกใบรับเงินหรือใบเสร็จให้แก่คุณด้วย หรืออาจจะให้เจ้าหนี้เขียนว่า "ได้รับชำระหนี้ไว้แล้วเป็นจำนวน........บาท" และลงลายมือชื่อไว้ในสัญญาเงินกู้เลยก็ได้ และถ้าเกิดว่าคุณพร้อมจะชำระหนี้แล้ว แต่หาเจ้าหนี้ไม่เจอคุณจะทำอย่างไร ทางออกก็คือ คุณสามารถที่จะนำเงินที่เตรียมไว้ชำระหนี้ ไปติดต่อขอวางเงินไว้ที่สำนักงานวางทรัพย์ ซึ่งจะมีอยู่ทุกจังหวัดได้ หากไม่รู้ว่าอยู่ที่ไหนก็ไปสอบถามข้อมูลได้ที่ศาล แต่คุณต้องไปติดต่อกับเจ้าหน้าที่ก่อนนะ อย่าไปวางไว้เฉยๆ ไม่เช่นนั้นหายแน่ๆ ข้อดีของการวางทรัพย์ก็คือ คุณจะไม่ตกเป็นผู้ผิดนัดการชำระหนี้ ซึ่งถ้าคุณตกเป็นผู้ผิดนัดการชำระหนี้แล้ว คุณอาจจะต้องเสียดอกเบี้ยเพิ่มให้แก่เจ้าหนี้อีก ทั้งๆที่คุณไม่ควรจะต้องเสีย และถ้าเป็นเรื่องการขายฝากด้วยแล้ว การชำระหนี้ให้ตรงเวลาเป็นเรื่องสำคัญมาก มิฉะนั้นผลเสียย่อมเกิดกับคุณแน่
การจำนองทรัพย์
การจำนอง เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเรามาก ผู้ที่ผ่อนบ้านกับธนาคารจะได้รู้จักกับการจำนองเป็นอย่างดี การจำนองก็คือการที่เราเอาทรัพย์สินไปประกันการชำระหนี้นั่นเอง ซึ่งหนี้ส่วนใหญ่จะมาจากเงินกู้ แต่ก็อาจจะเป็นหนี้อื่นๆได้ คือเรียกว่าถ้ามีหนี้ ก็มีการจำนองได้ แต่ถ้าไม่มีหนี้ก็จำนองไม่ได้ ลักษณะที่สำคัญของการจำนองก็คือ ทรัพย์สินที่จำนองต้องเป็น อสังหาริมทรัพย์เท่านั้น จะเป็นสังหาริมทรัพย์ไม่ได้ นอกจากนี้การจำนองต้องมีการทำเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ พูดง่ายๆก็คือ ต้องไปทำสัญญาจำนองกันที่สำนักงานที่ดินนั่นเอง จะมาทำกันเองไม่ได้ มิเช่นนั้น จะไม่ถือว่าเป็นการจำนอง อาจจะมีบางคนกู้ยืมเงินกัน แล้วเอาโฉนดไปให้เจ้าหนี้ยืดถือไว้เฉยๆ อย่างนี้ไม่เรียกว่าการจำนอง และก็ไม่เข้าข่ายเป็นการจำนำด้วย แต่ถ้าเจ้าหนี้ท่านใดได้ทำไปในลักษณะนี้ก็ไม่ต้องตกใจ เพราะถึงแม้ว่าจะไม่เป็นการจำนอง หรือจำนำ แต่เจ้าหนี้ก็ยังมีสิทธิที่จะยึดถือโฉนดนั้นไว้ได้ จนกว่าจะได้รับการชำระหนี้จากลูกหนี้ แต่มีข้อแม้ว่าจะต้องมีสัญญากู้อยู่ด้วยนะ
1. การจำนองต้องมีการทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน
อย่างที่เกริ่นไว้ตอนแรกว่า ถ้าคุณจะทำการจำนองนั้น คุณต้องไปทำกันที่สำนักงานที่ดินเท่านั้น ซึ่งทรัพย์สินที่จะจำนองก็คือ ที่ดิน หรือบ้านพร้อมที่ดิน แต่อาจจะมีทรัพย์สินอื่นที่มิใช่อสังหาริมทรัพย์ ก็อาจสามารถจำนองได้คือ เรือกำปั่นหรือเรือที่มีระวางตั้งแต่หกตันขึ้นไป เรือกลไฟหรือเรือยนต์มีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป, แพ, สัตว์พาหนะ, และสังหาริมทรัพย์อื่นๆซึ่งกฎหมายบัญญัติไว้ให้จดทะเบียนเฉพาะการ แต่มีข้อแม้ว่าสังหาริมทรัพย์เหล่านี้ต้องมีการจดทะเบียนไว้แล้ว
2. ผู้ที่จำนองต้องเป็นเจ้าของทรัพย์เท่านั้น
ถ้าไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สินที่จะจำนองแล้ว ก็จำนองไม่ได้ แต่ว่าหนี้ที่เราเอาทรัพย์สินไปจำนอง จะเป็นหนี้ของใครก็ได้ เช่น นาย ก.เป็นผู้กู้ แต่เราเอาทรัพย์สินของเราไปจำนองหนี้ของนาย ก.ได้ อย่างนี้ได้ หรือแม้ว่าทรัพย์สินนั้นจะมีคนอื่นเป็นเจ้าของร่วมอยู่ด้วยก็สามารถจำนองได้ แต่จำนองในเฉพาะส่วนของตนเท่านั้น
3. การจะบังคับจำนอง ต้องฟ้องคดีต่อศาล
การบังคับจำนอง เจ้าหนี้จะทำการยึดทรัพย์สินที่จำนองเองไม่ได้ จะต้องมีการส่งจดหมายเพื่อบอกกล่าวให้ลูกนี้นำเงินมาชำระหนี้ โดยกำหนดเวลาให้พอสมควรเสียก่อน ถ้าลูกหนี้ไม่มาชำระ จึงจะฟ้องร้องคดีต่อศาลแล้วยึดเอาทรัพย์ออกขายทอดตลาด นำเงินมาชำระหนี้ได้ ส่วนใหญ่การส่งจดหมายบอกกล่าวนั้น ถ้าคุณไปจ้างทนายแล้ว ทนายก็จะดำเนินการให้เองในส่วนนี้ เพราะก่อนฟ้องคดีต่อศาล ไม่ว่ากฎหมายจะกำหนดให้ส่งจดหมายบอกกล่าวหรือไม่ก็ตาม ทนายก็จะดำเนินส่งให้อยู่แล้ว ทั้งนี้ เพราะลูกหนี้อาจจะนำเงินมาชำระให้เลยก็ได้ ซึ่งจะทำให้เรื่องจบลงโดยที่ไม่ต้องฟ้อง เป็นการประหยัดเวลาของทุกฝ่าย
4. ขายทอดตลาดได้เงินเท่าไรก็ชำระหนี้แค่นั้น
อันนี้เป็นข้อกำหนดของกฎหมาย คือว่า ถ้ามีการฟ้องศาลบังคับจำนองกันแล้ว ศาลสั่งให้ยึดทรัพย์ขายทอดตลาด ถ้าขายแล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้ เจ้าหนี้ก็ได้รับไปแค่นั้น ตัวอย่าง เป็นหนี้กันอยู่หนึ่งแสนบาท แต่ยึดทรัพย์ขายทอดตลาดได้เงินมาเพียง แปดหมื่นบาท ส่วนที่ขาดไปอีกสองหมื่นบาท เจ้าหนี้จะไปเรียกจากลูกหนี้อีกไม่ได้ เว้นเสียแต่ว่า จะได้มีข้อตกลงยกเว้นข้อกำหนดในเรื่องนี้ไว้ในสัญญา ซึ่งศาลฎีกาเคยวินิจฉัยว่า สามารถตกลงยกเว้นข้อกำหนดนี้ได้ เพราะไม่ใช่เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง ซึ่งตัวผมเองก็ยังมีความเห็นแย้งในเรื่องนี้อยู่นิดๆ ในลักษณะต่างมุมมอง ซึ่งไม่มีใครผิดใครถูก ส่วนผู้ที่ใช้การยกเว้นข้อกฎหมายข้อนี้มากที่สุดก็คือธนาคาร
5. เจ้าหนี้จำนองมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่น
ข้อดีของการจำนองก็คือ หนี้จำนองเป็นหนี้ที่ให้สิทธิเจ้าหนี้ได้รับการชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่น ถ้าสมมุติว่าลูกหนี้เป็นหนี้อยู่สามรายคือ นายหนึ่ง, นายสอง, และเรา แต่นายหนึ่งเป็นเจ้าหนี้จากเงินกู้ธรรมดาคือไม่มีการจำนองกันไว้ และนายสองเป็นหนี้จากการซื้อขาย ส่วนเราเป็นเจ้าหนี้ที่มีทรัพย์สินจำนองไว้ ไม่ว่าจะเป็นหนี้จากอะไรก็ตาม ถ้าลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ให้แก่นายหนึ่ง นายหนึ่งอาจจะฟ้องร้องคดีต่อศาลยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ขายทอดตลาด รวมทั้งอาจจะยึดทรัพย์ที่จำนองด้วย แต่เมื่อขายทรัพย์ที่จำนองแล้ว เราจะมีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จากเงินที่ขายได้ก่อนจนครบถ้วน ถ้ามีเงินเหลือจึงจะเฉลี่ยไปให้นายหนึ่งกับนายสอง
การขายฝาก
สัญญาขายฝากก็คือการขายนั่นแหละ เพียงแต่มีเงื่อนไขว่าคุณสามารถซื้อคืนได้ภายในเวลาที่กำหนดไว้เท่านั้น ซึ่งต่างจากการขายเพราะการขายก็คือขายขาดไปเลยไม่มีสิทธิไถ่คืน เว้นแต่ผู้ซื้อจะยอมขายคืน การขายฝากนั้นสามารถทำได้ทั้งสังหาริมทรัพย์ และอสังหาริมทรัพย์ แต่ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ คือไปทำสัญญากันที่สำนักงานที่ดินนั่นแหละ เมื่อขายฝากแล้ว กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายฝากจะตกไปอยู่กับผู้ซื้อฝากทันทีที่ขาย จนกว่าจะมีการไถ่ถอน ซึ่งต่างจากการจำนอง การจำนองนั้น กรรมสิทธิ์ยังไม่โอนไปยังผู้รับจำนอง
1. กำหนดเวลาไถ่คืน
กฎหมายกำหนดเวลาไถ่คืนไว้ว่า ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ มีกำหนดสิบปีนับตั้งแต่เวลาซื้อขาย ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ มีกำหนดเวลาสามปีนับตั้งแต่เวลาซื้อขาย นั่นหมายความว่าคุณตกลงเวลาไถ่คืนน้อยกว่านี้ได้ แต่มากกว่านี้ไม่ได้ ถ้ากำหนดมากกว่านี้ต้องลดลงมาเหลือเท่าที่กฎหมายกำหนดตามประเภททรัพย์ มิฉะนั้น คุณจะหมดสิทธิไถ่คืนทันที
เมื่อกำหนดเวลาการไถ่คืนแล้ว คุณจะต้องไถ่คืนภายในกำหนดเวลานั้น แต่กฎหมายก็ยังเปิดช่องให้คุณได้ตกลงกันขยายกำหนดเวลาการไถ่คืนได้ โดยคุณจะต้องมีหลักฐานการขยายกำหนดเวลาการไถ่คืนเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อผู้รับไถ่ หรือก็คือผู้ซื้อนั่นแหละ
การขยายกำหนดเวลาการไถ่คืนนี้ ถ้าเป็นทรัพย์สินประเภทที่ซื้อขายกัน ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เช่น อสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์บางจำพวก (ดูรายละเอียดเรื่องสังหาริมทรัพย์ที่ต้องจดทะเบียนได้ที่หัวข้อการจำนอง) จะต้องนำหลักฐานการการขยายกำหนดเวลาไถ่คืนที่ทำกันไว้นั้น ไปจดทะเบียนไว้ที่สำนักงานที่ดินด้วย มิฉะนั้น หากผู้ที่ซื้อไว้ นำไปขายต่อกับบุคคลภายนอกที่สุจริตและเสียค่าตอบแทน ก็คือบุคคลภายนอกนั้นไม่รู้เรื่องนั่นเอง และบุคคลภายนอกนั้นได้เสียเงินค่าซื้อขายด้วย เราจะมาอ้างข้อกำหนดขยายเวลาที่ทำกันไว้ไม่ได้ สรุปก็คือ ถ้าต้องการขยายเวลาการไถ่คืน คุณต้องทำหลักฐานเป็นหนังสือไว้ ซึ่งหลักฐานนี้หากผู้ซื้อไว้เกิดเบี้ยวขึ้นมา คุณก็ใช้อ้างกับผู้ซื้อเพื่อขอไถ่คืนได้ แต่ถ้าทรัพย์สินนั้นเป็นอสังหาริมทรัพย์คือที่ดิน และผู้ซื้อเขารู้เรื่องกฎหมายข้อนี้ดี เขาอาจจะขายที่ดินนี้ไปให้กับคนอื่นซะ คุณก็ไถ่คืนไม่ได้แล้ว เพราะหลักฐานนี้ใช้ได้กับผู้ซื้อเท่านั้น หากคุณจะให้ใช้อ้างกับคนอื่นได้ด้วย คุณก็ต้องนำหลักฐานนี้ไปจดทะเบียนที่ที่ดิน
อีกนิดหนึ่งคือ ไม่ว่าคุณจะขยายเวลากำหนดการไถ่คืนกันหรือไม่ก็ตาม ยังไงก็ต้องไม่ให้เกินเวลาที่กฎหมายกำหนด คือ สิบปีสำหรับอสังหาริมทรัพย์ และสามปีสำหรับสังหาริมทรัพย์
2. จำนวนเงินที่จะต้องไถ่คืน
จำนวนเงินที่จะต้องไถ่คืนนี้ ถ้ากำหนดกันไว้ตอนทำสัญญาก็ให้เป็นไปตามนั้น แต่มีข้อแม้ว่า ถ้าจำนวนเงินที่ตกลงกันไว้นั้นมีจำนวนสูงกว่าราคาที่ขายฝากเกินร้อยละ 15 ต่อปี ก็ให้ไถ่ได้ในราคาที่ขายฝากรวมกับผลประโยชน์ตอบแทนร้อยละ 15 ต่อปี ทั้งนี้เนื่องจากว่า เมื่อก่อนมีการกำหนดจำนวนเงินไถ่คืนกันสูงมาก โดยผู้ซื้อได้คิดดอกเบี้ยไว้สูงรวมเข้าไปในราคาขายฝาก เมื่อมีการสู้คดีกันแล้ว ศาลได้วินิจฉัยว่าราคาดังกล่าวเป็นราคาที่ตกลงไถ่ถอนกันไว้ ไม่ใช่เป็นการเรียกดอกเบี้ย จึงไม่อยู่ในบังคับของอัตราดอกเบี้ยตามกฎหมายที่เรียกได้ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี จึงได้มีการแก้กฎหมายเมื่อปี 2541 กำหนดเรื่องดังกล่าวไว้ซะ เพื่อไม่ให้พวกเขี้ยวลากดินเอาเปรียบประชาชนตาดำๆกันอีกต่อไป แต่ถ้ามิได้กำหนดจำนวนเงินกันไว้ตอนทำสัญญา ก็ให้ไถ่คืนได้ในราคาที่ขายฝาก
3. ใครเป็นผู้ออกค่าธรรมเนียมในการทำสัญญา
ปกติเมื่อมีการซื้อขายกัน ค่าฤชาธรรมเนียมในการทำสัญญาจะต้องออกกันคนละครึ่ง สัญญาขายฝากก็เหมือนกันคือ ออกกันคนละครึ่ง เพราะหากว่าไม่มีการไถ่ถอนกันแล้ว ก็เป็นการซื้อขายธรรมดาเท่านั้น แต่ว่าถ้ามีการไถ่ถอนขึ้นมา กฎหมายบอกว่าผู้ไถ่ถอนจะต้องเป็นผู้ออก รวมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมที่ผู้ซื้อได้ออกไปด้วยครึ่งหนึ่งตอนที่ทำสัญญาขายฝากกัน เท่ากับว่าผู้ไถ่ถอนจะต้องจ่ายดังนี้คือ
1. ค่าไถ่ถอน
2. ค่าธรรมเนียมครึ่งหนึ่งที่ผู้ซื้อได้ออกไปตอนทำสัญญาขายฝาก
3. ค่าฤชาธรรมเนียมในการทำการไถ่ถอน
4. หากคุณเตรียมเงินไว้ไถ่ถอนแล้วแต่เจ้าหนี้ไม่ยอมรับทำไงดี
หากคุณเจอปัญหานี้ทำไงดี ในเมื่อกำหนดเวลาไถ่ถอนเป็นเรื่องสำคัญ หากเลยไปก็ไถ่ถอนไม่ได้ กฎหมายให้ทางออกไว้ว่า คุณจะต้องนำเงินที่เตรียมไว้ไถ่ถอน ไปติดต่อขอวางทรัพย์อันเป็นสินไถ่นี้ ที่สำนักงานวางทรัพย์ ภายในกำหนดเวลาที่คุณยังมีสิทธิไถ่ถอนได้ และคุณต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ด้วยว่าคุณสละสิทธิที่จะถอนทรัพย์ที่วางไว้คืน คือวางไว้แล้วก็จะไม่เอาคืน กฎหมายให้ถือว่าคุณได้ไถ่ถอนทรัพย์สินนั้นแล้ว ส่วนผู้ซื้อนั้น เจ้าหน้าที่จะแจ้งให้เองว่าคุณได้ไถ่ถอนทรัพย์สินแล้ว ให้เขามารับ
การฟ้องขับไล่
หากคุณอยู่ในที่ดินของผู้อื่น แล้วเจ้าของเขาไม่ประสงค์จะให้คุณอยู่อีกต่อไป คุณก็มีหน้าที่ที่จะต้องขนย้ายทรัพย์สินต่างๆของคุณออกไปจากที่ของเขา หากคุณไม่ย้ายเจ้าของที่เขาก็จะฟ้องขับไล่คุณออกไป แม้นว่าการอยู่ของคุณจะเป็นการเช่าก็ตาม แต่เมื่อเขาไม่ประสงค์จะให้คุณอยู่ต่อ คุณก็ไม่มีสิทธิที่จะไปบังคับเขา เว้นเสียแต่ว่าการเช่าของคุณนั้นมีหลักฐานเป็นหนังสือ และระบุระยะเวลาการเช่ากันไว้ ซึ่งอาจจะเป็น 1 ปี, 2 ปี, หรือ 3 ปีก็แล้วแต่ เขาจึงยังไม่มีสิทธิมาไล่คุณจนกว่าจะถึงกำหนด
สัญญาเช่านั้นถ้าทำหลักฐานเป็นหนังสือเพียงอย่างเดียว กฎหมายบอกว่าคุณกำหนดระยะเวลาได้มากที่สุดแค่ 3 ปีเท่านั้น ถ้ากำหนดมากกว่านั้น ก็จะฟ้องร้องบังคับให้ปฏิบัติตามสัญญาได้แค่ 3 ปี ส่วนที่เกินบังคับกันไม่ได้ หากว่าคุณอยากจะทำสัญญามากกว่า 3 ปี คุณจะต้องนำหนังสือเช่านั้น ไปจดทะเบียนที่สำนักงานที่ดิน กฎหมายจึงจะบังคับให้คุณ โดยให้คุณกำหนดได้เต็มที่คือไม่เกิน 30 ปี หรือถ้าไม่กำหนดเป็นปี ก็อาจจะกำหนดตลอดอายุของผู้เช่าได้เหมือนกัน สรุปว่า ถ้าทำสัญญาเช่าไม่เกิน 3 ปีทำเป็นหนังสืออย่างเดียวพอ ถ้าเกิน 3 ปี ถึง 30 ปี หรือตลอดอายุของผู้เช่า ต้องจดทะเบียนที่สำนักงานที่ดินด้วย
กรณีที่คุณอยู่โดยไม่ได้เช่าก็ไม่ต้องพูดถึง ถ้าเขาบอกให้คุณย้ายคุณก็ต้องย้าย ไม่มีข้อโต้แย้งใดๆเลย บางคนมีความเข้าใจผิดๆ ว่าถ้าเจ้าของที่เขาไล่แล้ว จะต้องจ่ายค่าขนย้ายให้ ซึ่งตรงนี้กฎหมายไม่ได้บังคับให้เจ้าของที่ต้องไปจ่าย ผู้อยู่อาศัยก็ไม่มีสิทธิไปเรียกร้อง แต่ที่ผ่านมาเจ้าของที่จะจ่ายให้ ทั้งนี้ก็เพราะว่าเป็นการตัดความรำคาญ และจำนวนเงินอยู่ในระดับที่พอจะจ่ายได้ ทำให้เกิดความเข้าใจผิดกันตลอดมา หากว่าไปเจอเจ้าของที่ไม่ยอมจ่ายคุณก็ไม่ได้อะไรเลย แถมบางที่เขาอาจจะเรียกให้คุณจ่ายด้วย เป็นค่าละเมิดที่คุณไปอยู่ในที่เขาทำให้เขาได้รับความเสียหาย ซึ่งถ้าคุณไม่อยู่ในที่เขา เขาอาจเอาที่นี้ไปให้คนอื่นเช่าได้ ทางที่ดีหากคุณอยากได้ค่ารื้อถอน คุณควรจะพูดกับเจ้าของที่ดีๆ ให้เขาเห็นใจคุณ อย่าไปพูดว่าถ้าไม่จ่ายให้ก็จะไม่ย้ายไป ไม่งั้นผมว่าเขาฟ้องคุณแน่ๆ
ถ้าเกิดคุณโดนฟ้องไปแล้วจะทำยังไง ส่วนมากคดีแบบนี้ไม่มีทางชนะได้เลย เพราะว่าโจทก์พิสูจน์ได้ว่าเป็นเจ้าของที่เท่านั้น โจทก์ก็ชนะแล้ว จำเลยจะมีข้อต่อสู้เพียงอย่างเดียวคือสู้ว่าได้ครอบครองปรปักษ์ที่ดินนั้นแล้ว แต่การครอบครองปรปักษ์นั้น คุณจะต้องอยู่บนที่ดินของเขา โดยความสงบและเปิดเผย มีเจตนาแสดงความเป็นเจ้าของเกิน 10 ปี จึงจะได้การครอบครองปรปักษ์ และถ้าคุณสู้ไปประเด็นนี้ โอกาสที่จะชนะก็น้อยเต็มที เพราะการที่จะพิสูจน์ว่าคุณได้ครอบครองปรปักษ์นั้น เป็นการพิสูจน์ที่ยากมาก นอกจากจะพิสูจน์ได้ชัดเจนจริงๆ ศาลจึงจะพิพากษาให้คุณชนะคดี ทางออกที่ดีที่สุดสำหรับคนที่ถูกฟ้องขับไล่ก็คือ ถ้าโจทก์เป็นเจ้าของที่จริงๆแล้ว คุณไม่ต้องไปสู้เขาหรอก คุณไปศาลตามวันที่ศาลนัด เมื่อศาลพิจารณาคดีคุณก็แจ้งต่อศาลว่า จะขอประนีประนอมยอมความกับโจทก์ โดยคุณอาจจะขอเวลาสักระยะหนึ่งเพื่อหาที่อยู่ใหม่ หรืออะไรก็แล้วแต่ที่โจทก์ยอมให้คุณ เพราะคดีแบบนี้ส่วนมากแล้วศาลจะพยายามไกล่เกลี่ยให้คุณก่อน ไม่ว่าคุณจะมีทนายหรือไม่ก็ตาม ถ้าไกล่เกลี่ยไม่สำเร็จศาลจึงจะดำเนินกระบวนพิจารณาแล้วพิพากษา ถ้าคุณต่อสู้คดีโดยที่ไม่มีเหตุให้ต่อสู้แล้ว คุณจะมีแต่เสียกับเสียอย่างเดียว ไม่ว่าค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ค่าทนาย และยังเสียเวลาทำมาหากินโดยเปล่าประโยชน์ ฉะนั้น ไม่ว่าคดีอะไรก็ตาม ก่อนที่คุณคิดจะสู้คดี พึงระลึกไว้เสมอว่าคุณมีข้อต่อสู้กับเขาหรือไม่ ถ้าไม่มีก็อย่าไปสู้ดีกว่า เสียเงินเสียเวลาเปล่าๆ แต่ถ้าคุณมีข้อต่อสู้ เช่น มีสัญญาเช่ากันไว้และยังไม่ถึงกำหนดเวลาตามสัญญา โจทก์ยังไม่มีสิทธิขับไล่ อย่างนี้ก็สู้คดีไปเถอะ
กฎหมายลิขสิทธิ์
กฎหมายลิขสิทธิ์ของประเทศไทยให้ความคุ้มครองแก่งานที่ทำเสร็จแล้วทุกงาน โดยไม่จำเป็นที่จะต้องแสดงการสงวนลิขสิทธิ์ หรือดำเนินการจดทะเบียนลิขสิทธิ์งานนั้น เป็นการให้ความคุ้มครองโดยอัตโนมัติ เพียงแต่อยู่ในเงื่อนไขของกฎหมายดังนี้
งานที่สามารถมีลิขสิทธิ์ได้คือ งานสร้างสรรค์ประเภทวรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนต์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่ภาพ หรืองานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ ของผู้สร้างสรรค์ ไม่ว่างานดังกล่าวจะแสดงออกโดยวิธีหรือรูปแบบอย่างใด แต่ทั้งนี้ไม่ครอบคลุมถึงความคิด หรือขั้นตอน กรรมวิธี หรือระบบ หรือวิธีใช้หรือทำงาน หรือแนวความคิด หลักการ การค้นพบ หรือทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์
ส่วนงานที่ไม่สามารถมีลิขสิทธิ์ได้คือ
1.) ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่างๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสารอันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ 2.) รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
3.) ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น 4.) คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
5.) คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่างๆ ตามข้อ 1 ถึง 4 ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐ หรือของท้องถิ่นจัดทำขึ้น
การได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ ก็คือ ผู้ใดสร้างผู้นั้นเป็นเจ้าของ และอยู่ภายใต้มีเงื่อนไขดังนี้
1.) ในกรณีที่ยังไม่ได้มีการโฆษณางาน ผู้สร้างสรรค์ต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทย หรืออยู่ในราชอาณาจักร หรือเป็นผู้มีสัญชาติหรืออยู่ในประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญา ว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย ตลอดระยะเวลาหรือเป็นส่วนใหญ่ในงานสร้างสรรค์นั้น หมายถึงว่า ในตลอดระยะเวลาที่สร้างสรรค์งานนั้น ผู้สร้างสรรค์ต้องเป็นลักษณะใดลักษณะคือ เป็นผู้มีสัญชาติไทย หรืออยุ๋ในราชอาณาจักร หรือเป็นผู้มีสัญชาติในประเทศภาคีสมาชิก อยู่ตลอดเวลา หรือเป็นเวลาส่วนใหญ่ ถ้าสร้างงานในประเทศอื่นที่ไม่ใช่ประเทศไทย หรือในประเทศที่เป็นภาคีสมาชิก ย่อมไม่ได้ลิขสิทธิ์นั้นในประเทศไทย
2.) ในกรณีที่มีการโฆษณางานแล้ว ถ้าการโฆษณางานนั้นได้ทำเป็นครั้งแรกในประเทศไทย หรือในประเทศที่เป็นภาคีสมาชิก (กรณีที่สร้างงานในประเทศอื่น) ย่อมได้ลิขสิทธิ์ในประเทศไทย หรือถ้าครั้งแรกไม่ได้โฆษณาในประเทศไทย หรือในประเทศที่เป็นภาคีสมาชิก แต่ว่าได้มีการโฆษณาครั้งต่อมาในประเทศไทย หรือประเทศที่เป็นภาคีสมาชิกภายในเวลา 30 วัน นับตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้มีการโฆษณา ย่อมได้ลิขสิทธิ์ในประเทศไทย หรือในกรณีที่การโฆษณาครั้งแรกในประเทศอื่น แต่ถ้าผู้สร้างสรรค์เป็นบุคคลในลักษณะตามข้อ 1 ก็สามารถได้ลิขสิทธิ์ในประเทศไทย
ในกรณีที่กฎหมายบังคับว่าผู้สร้างสรรค์ต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทย ถ้าหากว่าผู้สร้างสรรค์งานนั้นเป็นนิติบุคคล นิติบุคคลนั้นก็ต้องเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยด้วย
มีบางกรณีที่ผู้สร้างสรรค์นั้นเป็นพนักงาน หรือลูกจ้าง พนักงาน หรือลูกจ้างนั้นก็ยังคงเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์อยู่ เว้นเสียแต่ว่าได้มีการตกลงกันไว้ว่าให้เป็นของนายจ้างโดยมีการทำเป็นหนังสือไว้ แต่ถึงแม้ว่าลิขสิทธิ์จะเป็นของพนักงาน หรือลูกจ้าง นายจ้างก็ยังคงมีสิทธิที่จะนำงานนั้นออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนได้ ตามที่เป็นวัตถุประสงค์แห่งการจ้างแรงงานนั้น
แต่ถ้าเป็นกรณีที่ผู้สร้างงานได้สร้างขึ้นโดยการรับจ้างบุคคลอื่นโดยเฉพาะ ลิขสิทธิ์นั้นย่อมตกแก่ผู้ว่าจ้างงาน เว้นแต่ว่าจะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น
หากงานใดที่เป็นงานดัดแปลงมาจากงานที่มีลิขสิทธิ์ โดยได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธ์ ให้งานที่ได้ดัดแปลงนั้นเป็นลิขสิทธิ์ของผู้ที่ดัดแปลง แต่ทั้งนี้จะไม่กระทบกระเทือนสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์ที่มีอยู่ในงานเดิมที่ถูกดัดแปลง
กรณีที่มีการรวบรวมงานที่มีลิขสิทธิ์หลายๆงานเข้าด้วยกัน โดยได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ หรือเป็นการนำเอาข้อมูลหรือสิ่งอื่นใดซึ่งสามารถอ่าน หรือถ่ายทอดได้โดยอาศัยเครื่องกล หรืออุปกรณ์อื่นใดมารวบรวมหรือประกอบเข้ากัน โดยที่วิธีการลำดับในการนำเสนอนั้นไม่ได้ลอกเลียนงานของคนอื่น ผู้ที่ทำนั้นย่อมได้ลิขสิทธิ์ในงานที่ได้รวบรวมนั้น แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์ที่มีอยู่ในงาน หรือข้อมูลหรือสิ่งอื่นใด ของผู้สร้างสรรค์เดิมที่ถูกนำมารวบรวมหรือประกอบเข้ากัน
มรดก
เรื่องที่ยุ่งที่สุดคงไม่พ้นเรื่องนี้ บางทีพี่น้องกันยังฆ่ากันได้ ก็เพราะทรัพย์มรดกนี่แหละ ต่างคนก็อยากจะได้ เท่าที่ผมเจอมาส่วนใหญ่ จะเป็นพวกรุ่นหลานๆแล้วที่ยังมาแย่งกันอยู่ ตอนรุ่นลูกนั้นตกลงกันได้ไม่มีปัญหา แต่ยังไงเรื่องมันก็เกิดได้อยู่ดีถ้าไม่รู้จักละเสียบ้าง ฉะนั้น วิธีที่ดีที่สุดก็คือทำอะไรให้มันถูกต้องซะดีกว่า และก็ตกลงอะไรกันไว้ก็ควรทำเป็นหลักฐานไว้หน่อย เพื่อป้องกันการมีปัญหาภายหลัง เริ่มเรื่องกันดีกว่า
ในหัวข้อนี้จะพูดถึงเรื่อง ผู้มีสิทธิรับมรดกและการรับมรดกแทนที่/ การเสียสิทธิในการรับมรดก/ การสละมรดก/ แบบและการเขียนพินัยกรรม/ การเพิกถอนพินัยกรรม/ การแบ่งปันทรัพย์มรดกระหว่างทายาท/ และอายุความ
ผู้มีสิทธิรับมรดกและการรับมรดกแทนที่
เมื่อผู้ตายมีทรัพย์มรดกตกทอดมา บุคคลผู้ที่จะมีสิทธิรับมรดกมีอยู่ด้วยกัน 6 ลำดับชั้นคือ
1.) ผู้สืบสันดาน ก็คือบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายหรือบุตรที่บิดารับรองแล้ว
2.) บิดามารดา
3.) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
4.) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
5.) ปู่ ย่า ตา ยาย
6.) ลุง ป้า น้า อา นอกจากบุคคลเหล่านี้แล้วบุคคลอื่นไม่มีสิทธิ เว้นแต่ในกรณีที่ผู้ตายเขียนพินัยกรรมยกให้ใครไว้ ผู้นั้นก็มีสิทธิรับมรดกตามพินัยกรรม ซึ่งอาจจะเป็นลูก หลาน หรือบุคคลอื่นก็ได้
ที่กล่าวมานี่มิใช่ว่าจะได้รับทั้งหมด ยังมีข้อแม้ว่าการรับมรดกนี้จะมีสิทธิรับกันเป็นลำดับชั้น คือ 1, 2, 3, 4, 5, 6 ถ้ามีลำดับไหนอยู่ก็เป็นการตัดชั้นอื่นไป เช่น ถ้ามีลูก คือชั้นที่ 1 อยู่ ก็จะตัดชั้นที่ 2-6 ไปในตัว นี่เป็นตัวอย่างให้พอเข้าใจนะ เพราะจริงๆแล้วกฎหมายให้สิทธิพิเศษแก่บิดามารดาด้วย คือ ถึงแม้จะมีบุตรอยู่ แต่ถ้าบิดามารดายังมีชีวิตอยู่ ก็ให้รับเท่าๆกับบุตร สมมุติว่านายไก่ตาย ก็ดูว่านายไก่มีลูกหรือไม่ พ่อแม่ยังมีชีวิตหรือไม่ ถ้ามีก็รับกันไป แต่ถ้าไม่มีก็ดูในลำดับต่อไปคือพี่น่องร่วมบิดามารดา ถ้าไม่มีอีกก็พี่น้องที่ร่วมแต่เฉพาะบิดาหรือเฉพาะมารดา ตามลำดับไปเรื่อยๆ ส่วนคู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมาย คือได้จดทะเบียนสมรสกัน ก็มีสิทธิได้รับเหมือนกัน แต่จะมีส่วนแบ่งเท่าไรก็ต้องดูว่ามีทายาทชั้นไหนเหลืออยู่บ้าง ถ้าชั้นบุตรยังมีชีวิตอยู่ก็ได้รับเท่าๆกัน แต่ถ้าไม่มีทายาทชั้นบุตรมีแต่บิดามารดา หรือไม่มีชั้นบุตรชั้นบิดามารดามีแต่ชั้นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน คู่สมรสจะได้ครึ่งหนึ่ง ถ้าเหลือแต่พี่น้องร่วมแต่บิดาหรือร่วมแต่มารดา หรือเหลือแต่ปู่ ย่า ตา ยาย หรือ ลุง ป้า น้า อา คู่สมรสจะได้รับ 2 ใน 3 ส่วน
การรับมรดกนั้นมิใช่จะดูว่าลำดับชั้นต้นๆไม่มีแล้วก็ให้ลำดับชั้นอื่นมารับ ต้องดูอีกว่าถ้าไม่มีทายาทชั้นนั้นแล้ว มีผู้รับแทนที่หรือไม่ ถ้ามีก็รับให้แทนที่ เช่น ลูกตายก่อนพ่อแม่ พอพ่อแม่ตายทรัพย์มรดกจะตกแก่หลาน รุ่นหลานจะเข้ามารับมรดกแทนที่ แต่ถ้าไม่มีผู้รับมรดกแทนที่จึงจะให้ลำดับชั้นต่อมาเป็นผู้รับ
การรับมรดกแทนที่นั้น เป็นกรณีที่ผู้มีสิทธิจะรับไม่มีชีวิตอยู่ในขณะที่รับมรดก พูดง่ายๆก็คือตายก่อนเจ้ามรดก เมื่อตายไปแล้วผู้ที่จะรับแทนก็คือบุตรของผู้นั้น แต่มีข้อแม้ว่าผู้ที่มีสิทธิจะได้รับมรดก ที่ตายก่อนเจ้ามรดกนั้น จะต้องไม่เป็นผู้ที่ถูกตัดมิให้รับมรดก หรือถูกกำจัดมิให้รับมรดกหลังเจ้ามรดกตายด้วย ถ้าถูกกำจัดก่อนเจ้ามรดกตายรับแทนที่ได้ (อ่านรายละเอียดเกี่ยวการถูกตัดและถูกกำจัดมิให้รับมรดกในหัวข้อการเสียสิทธิในการรับมรดก) การจะรับมรดกแทนที่นั้น สิ่งแรกต้องคำนึงถึงก่อนก็คือ ใครมีสิทธิรับบ้าง ก็ดูกันไปตามลำดับชั้น เมื่อมีสิทธิรับแล้วแต่คนๆนั้นตายก่อนเจ้ามรดก ก็ให้ลูกรับไปแทน ถ้าลูกตายก่อนอีกก็ให้ลูกของลูกของลูกรับต่อกันไปจนหมด มีข้อสังเกตุอยู่นิดคือเฉพาะลูกของลูกเท่านั้นภรรยาของลูกนั้นจะไม่มีสิทธิรับมรดกแทนที่ลูก
การรับมรดกแทนที่นั้น มีทายาทอยู่ 2 ประเภทที่ทายาทของผู้นั้นไม่สามารถรับมรดกแทนที่ได้คือ ลำดับชั้นที่ 2 กับชั้นที่ 5 คือ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย บุคคลเหล่านี้ถึงแม้จะมีสิทธิรับมรดก แต่ถ้าเกิดตายก่อนเจ้ามรดกแล้ว จะไม่มีการรับมรดกแทนที่กันอีก
การเสียสิทธิในการรับมรดก
การเป็นทายาทนั้นทำให้มีสิทธิได้รับมรดก แต่ขณะเดียวกันก็อาจจะเสียสิทธิได้เหมือนกัน ซึ่งการเสียสิทธิในการรับมรดกนี้มีอยู่ 4 กรณีด้วยกันคือ
1. ถูกกำจัดมิให้รับมรดก
2. ถูกตัดมิให้รับมรดก
3. สละมรดก
4. ไม่ได้เรียกร้องเอาทรัพย์มรดกในอายุความ
ในหัวข้อนี้จะกล่าวถึงการถูกกำจัดมิให้รับมรดก และการถูกตัดมิให้รับมรดก ส่วนการสละมรดกกับอายุความจะแยกไปอีกหัวเรื่องหนึ่ง
1. การถูกกำจัดมิให้รับมรดก เหตุที่ทายาทจะถูกกำจัดมิให้รับมรดกได้ มีอยู่ 2 กรณีคือ
ก.) เป็นผู้ยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดก
ข.) เป็นผู้ถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควร
ก.) เป็นผู้ยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดก การถูกกำจัดตามข้อนี้เป็นการถูกกำจัดเนื่องจากทายาทคนใดคนหนึ่ง ได้ทำการยักย้ายถ่ายเท หรือปิดบังทรัพย์มรดกโดยฉ้อฉล หรือรู้อยู่ว่าตนทำให้เสื่อมประโยชน์ของทายาทอื่น เป็นการกระทำหลังจากที่เจ้ามรดกตายแล้ว หมายความว่าตอนเจ้ามรดกตายนั้นยังมีสิทธิรับมรดกอยู่ แต่อาจจะเกิดความโลภจึงได้ยักย้ายถ่ายเททรัพย์มรดกเพื่อที่ตนจะได้มากกว่าคนอื่น ผลก็คือต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดก
ข.) เป็นผู้ถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควร เป็นการกระทำที่อาจจะเกิดก่อนหรือหลังเจ้ามรดกตายก็ได้ มีอยู่ 5 เหตุคือ
(1) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่า ได้เจตนากระทำหรือพยายามกระทำ ให้เจ้ามรดกหรือผู้ที่มีสิทธิได้รับมรดกก่อนตนถึงแก่ความตาย
ตามเหตุนี้เป็นกรณีที่เกิดก่อนเจ้ามรดกตาย ส่วนกระทำแล้วเจ้ามรดกจะตายหรือไม่ไม่สำคัญ ข้อสำคัญอยู่ที่ว่ามีเจตนากระทำและเมื่อกระทำแล้ว ถูกฟ้องศาลและศาลพิพากษาถึงที่สุดแล้วได้กระทำความผิดจริง ก็จะถูกกำจัดมิให้รับมรดก แต่กรณีนี้บุตรสามารถที่จะรับมรดกแทนที่กันได้
(2) ผู้ที่ได้ฟ้องต่อศาลกล่าวหาเจ้ามรดกว่า ได้กระทำความผิดที่มีโทษประหารชีวิต แต่ตนเองกลับถูกฟ้องว่าฟ้องเท็จหรือทำพยานเท็จ และศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า ผู้นั้นได้ฟ้องเท็จหรือทำพยานเท็จ ทายาทผู้นั้นก็จะถูกกำจัด แต่บุตรของทายาทผู้นั้นมีสิทธิรับมรดกแทนที่ได้
(3) ผู้ที่รู้แล้วว่าเจ้ามรดกถูกฆ่าโดยเจตนา แต่มิได้นำข้อความนั้นขึ้นร้องเรียน เพื่อเป็นทางที่จะเอาตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ
ความตามข้อนี้หมายถึงว่า ต้องได้ความว่าเจ้ามรดกถูกฆ่าโดยเจตนา ถ้าเป็นเรื่องที่ถูกทำให้ตายโดยประมาท หรือโดยไม่เจตนา ย่อมไม่อยู่ในความหมายนี้ และทายาทต้องรู้ว่าเจ้ามรดกถูกฆ่าโดยเจตนาด้วย แต่ไม่ร้องเรียนหรือก็คือไปแจ้งความเอาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ ทายาทผู้นั้นจึงต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดก แต่การกระทำตามข้อนี้ไม่ใช้บังคับกับคน 3 ประเภทคือ 1.) ทายาทที่อายุไม่ถึง 16 ปีบริบูรณ์ 2.) ทายาทที่วิกลจริตไม่สามารถรู้ผิดชอบ 3.) ผู้ที่ฆ่านั้นเป็นสามี ภรรยา พ่อแม่ หรือลูกของตน และการถูกกำจัดตามข้อนี้ ทายาทของผู้ถูกกำจัดไม่สามารถรับมรดกแทนที่ได้
(4) ผู้ที่ฉ้อฉลหรือข่มขู่ให้เจ้ามรดกทำ หรือเพิกถอน หรือเปลี่ยนแปลงพินัยกรรมแต่บางส่วนหรือทั้งหมดซึ่งเกี่ยวกับทรัพย์มรดก หรือไม่ให้กระทำการดังกล่าว
เป็นกรณีที่เจ้ามรดกไม่ได้ตั้งใจทำพินัยกรรม หรือทำไว้แล้วแต่ไม่ได้ตั้งใจจะเพิกถอน แต่ถูกหลอกลวงหรือข่มขู่ให้ทำหรือให้เพิกถอน หรือในทางกลับกัน เจ้ามรดกตั้งใจจะทำพินัยกรรมหรือตั้งใจจะเพิกถอนพินัยกรรม หรืออาจต้องการเปลี่ยนแปลงพินัยกรรมที่ทำไว้แล้ว แต่ถูกหลอกลวงหรือข่มขู่มิให้ทำการดังกล่าว ไม่ว่าอย่างใดก็ตามล้วนเป็นเรื่องที่ทำให้พินัยกรรมนั้นไม่ได้เป็นไปตามเจตนาอันแท้จริงของเจ้ามรดก ฉะนั้น ผู้ที่กระทำจึงต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดก แต่ทายาทของผู้นั้นรับมรดกแทนที่ได้
(5) ผู้ที่ปลอม ทำลาย หรือปิดบังพินัยกรรมแต่บางส่วน หรือทั้งหมด
การกระทำตามข้อนี้ไม่ว่าจะกระทำทั้งหมดหรือบางส่วนก็ตาม ก็ต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดก ส่วนทายาทของผู้นั้นจะรับมรดกแทนที่ได้หรือไม่ ก็ต้องดูว่ากระทำก่อนหรือหลังเจ้ามรดกตาย ถ้ากระทำก่อนก็รับมรดกแทนที่ได้ ถ้ากระทำทีหลังก็รับมรดกแทนที่ไม่ได้
การถูกกำจัดนี้หากว่าเจ้ามรดกยังมีชีวิตอยู่ เจ้ามรดกอาจทำการถอนข้อกำจัดฐานเป็นผู้ไม่สมควรเสียก็ได้โดยให้อภัยเป็นลายลักษณ์อักษร
2. การถูกตัดมิให้รับมรดก อาจจะแสดงออกโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายก็ได้ การแสดงออกโดยชัดแจ้งอาจทำโดยพินัยกรรม เช่น "ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้แก่ลูกคนที่หนึ่งกับลูกคนที่สาม ส่วนลูกคนที่สองกับคนที่สี่ไม่ขอยกทรัพย์สินใดๆให้เป็นอันขาด" เป็นต้น หรืออาจจะทำโดยทำเป็นหนังสือมอบให้ไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ โดยระบุชื่อทายาทโดยชัดแจ้งว่าตัดมิให้รับมรดก ส่วนพนักงานเจ้าหน้าที่ได้แก่นายอำเภอ ตามกฎกระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2481 และระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2495
ส่วนการแสดงเจตนาโดยปริยาย ก็คือการที่เจ้ามรดกทำพินัยกรรมจำหน่ายมรดกเสียทั้งหมด หมายถึงว่ายกทรัพย์สินให้แก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งไปทั้งหมดเลย จะต่างกับกรณีแรกซึ่งกรณีแรกทำพินัยกรรมไว้เหมือนกัน แต่จะระบุไว้ด้วยว่านอกจากบุคคลที่ยกให้แล้ว ไม่ให้บุคคลอื่นอีก แต่กรณีหลังนี้ไม่ได้ระบุเอาไว้ ซึ่งการกระทำกรณีหลังมิได้เกิดขึ้นจากการแสดงเจตนาโดยชัดแจ้งของเจ้ามรดก หากแต่กฎหมายไม่ให้สิทธิทายาทโดยธรรมที่จะรับมรดก ซึ่งย่อมทำให้ทายาทผู้นั้นหมดสิทธิในการรับมรดก ตัวอย่างเช่น ก. ทำพินัยกรรมว่าเมื่อตนตายแล้ว ให้ทรัพย์มรดกของตนตกได้แก่ ข. คนเดียว หรืออาจจะเป็นว่า ก. ทำพินัยกรรมว่าตนตายแล้ว ให้ทรัพย์มรดกคือที่ดินที่ตนอาศัยตกได้แก่ ข. ทรัพย์มรดกที่เหลืออยู่ให้เป็นของ ค. ทั้งสิ้น เป็นต้น แต่ถ้าเกิดว่า ก.ทำพินัยกรรมยกที่ดินแปลงหนึ่งให้ ข. รถยนต์หนึ่งคันให้ ค. และแหวนเพชร 1 วงให้ ง. กรณีอย่างนี้ไม่ถือว่าเป็นการตัดโดยปริยาย เพราะขณะที่ ก.ทำพินัยกรรม ก. จะมีทรัพย์สินเพียง 3 อย่างนี้เท่านั้น แต่กว่า ก.จะตายอาจมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นมาอีกก็ได้
เมื่อทายาทถูกตัดแล้ว หากเจ้ามรดกเกิดสงสารขึ้นมาก็สามารถถอนการตัดได้ การถอนนั้นถ้าตัดโดยพินัยกรรมก็จะต้องถอนโดยทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้กับทายาทคนนั้นอย่างเดียว แต่ถ้ากรณีที่ไปทำหนังสือมอบให้ไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ จะถอนโดยทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้บุคคลนั้น หรือจะถอนโดยการทำหนังสือไปมอบให้ไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ก็ได้
ผลของการถูกตัดมิให้รับมรดกก็คือ ทายาทผู้นั้นไม่มีสิทธิรับมรดกอีกต่อไป และทายาทของผู้ถูกตัดก็ไม่มีสิทธิรับมรดกแทนที่ด้วย
การสละมรดก
การสละมรดก เป็นกรณีที่ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดก แสดงเจตนาที่จะไม่รับมรดกในส่วนที่ตนได้ การแสดงเจตนานั้นจะกระทำได้ต่อเมื่อเจ้ามรดกได้ตายไปแล้วเท่านั้น หากเจ้ามรดกยังมีชีวิตอยู่ไม่ถือว่าเป็นการแสดงเจตนาสละมรดก และการสละมรดกที่ถูกต้องตามกฎหมายนั้น ผู้สละมรดกต้องไปทำเป็นหนังสือมอบให้ไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งก็คือนายอำเภอหรือถ้าในกรุงเทพก็คือผู้อำนวยการเขต หรืออาจจะทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างทายาทก็ได้ นอกจากนี้การสละมรดกนั้น จะต้องสละทั้งหมดจะสละเพียงบางส่วนหรือมีเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาไม่ได้ เมื่อสละมรดกแล้วก็จะถอนไม่ได้เช่นเดียวกัน
ผลของการสละมรดก ถ้าสละมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม บุตรของผู้นั้นก็เข้ารับมรดกแทนที่ได้ แต่ถ้าอยู่ในฐานะผู้รับพินัยกรรมแล้วสละมรดก บุตรของผู้ที่สละไม่มีสิทธิรับมรดกแทนที่ได้
แบบและการเขียนพินัยกรรม
บุคคลที่จะมีความสามารถทำพินัยกรรมได้ ต้องมีอายุตั้งแต่ 15 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป การเขียนพินัยกรรมสามารถกระทำ 5 แบบคือ
1.) พินัยกรรมแบบธรรมดา
2.) พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ
3.) พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง
4.) พินัยกรรมแบบเอกสารลับ
5.) พินัยกรรมแบบด้วยวาจา
1.) พินัยกรรมแบบธรรมดา จะต้องทำเป็นหนังสือลงวัน เดือน ปี ในขณะที่ทำขึ้น และผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อไว้ ต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน ซึ่งพยานสองคนนั้นต้องลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมไว้ในขณะนั้น
การทำในลักษณะนี้จะใช้วิธีเขียนเอาหรือใช้พิมพ์ก็ได้ เพียงแต่ต้องระบุวัน เดือน ปี ที่ทำขึ้น ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อไว้ในพินัยกรรมต่อหน้าพยานสองคนเป็นอย่างน้อย มากกว่าได้แต่น้อยกว่าไม่ได้ และพยานเหล่านั้นก็ต้องลงลายมือชื่อรับรองไว้ด้วย จะขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ได้
2.) พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ พินัยกรรมแบบนี้จะคล้ายกับแบบธรรมดา แต่ต่างกันตรงที่พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับนั้น ผู้ทำพินัยกรรมต้องเป็นผู้เขียนข้อความเองทั้งหมด ส่วนพินัยกรรมแบบธรรมดาจะพิมพ์ทั้งหมดแล้วผู้ทำพินัยกรรมลงลายมือชื่ออย่างเดียวก็ได้ ส่วนข้อความนั้นก็หมายถึงข้อความที่ระบุว่าจะยกทรัพย์สินให้กับใคร ส่วนข้อความอื่นๆไม่ต้องเขียนเองก็ได้ เนื่องจากเคยมีคำพิพากษาศาล
ฎีกาที่ 1843-1844/2524 วินิจฉัยว่า การที่ผู้ตายเขียนกรอกข้อความในแบบพิมพ์หนังสือมอบอำนาจของกรมที่ดิน ก็เป็นพินัยกรรมที่ใช้ได้ ถือเป็นพินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ และข้อแตกต่างอีกอย่างหนึ่งคือ พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ ไม่จำเป็นต้องมีพยาน ขณะที่พินัยแบบธรรมดาจะขาดพยานไม่ได้ ส่วนวัน เดือน ปีที่ทำนั้น แบบธรรมดาต้องลงในวันที่ทำขึ้นเลย ส่วนแบบเขียนเองทั้งฉบับไม่ได้บังคับว่าจะต้องเขียนในวันที่ทำพินัยกรรม
3.) พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง พินัยกรรมแบบนี้จะต้องให้นายอำเภอหรือผู้อำนวยการเขตเป็นผู้ทำให้ เสร็จแล้วผู้ที่ทำพินัยกรรมจะต้องลงลายมือชื่อของตนไว้ และจะต้องมีพยานอีกอย่างน้อยสองคนลงลายมือชื่อไว้ด้วย พยานสองคนนี้ไม่นับรวมถึงนายอำเภอ ฉะนั้นนายอำเภอจะเป็นพยานไม่ได้ และที่สำคัญคือนายอำเภอจะต้องเขียนรับรองว่าพินัยกรรมนี้ได้ทำขึ้นโดยถูกต้อง และจะต้องมีตราตำแหน่งประทับไว้ด้วย
4.) พินัยกรรมแบบเอกสารลับ เป็นพินัยกรรมที่ผู้ทำได้ทำขึ้นโดยจะเขียนหรือพิมพ์ขึ้นเอง หรือผู้อื่นเขียนให้ก็ได้แล้วลงลายมือชื่อ เสร็จแล้วทำการใส่ซองปิดผนึกและลงลายมือชื่อตรงคาบรอบผนึกนั้นด้วย จากนั้นจะต้องเอาไปให้นายอำเภอเป็นผู้เก็บรักษาไว้ ขณะที่เอาไปให้นายอำเภอนั้น จะต้องนำพยานไปด้วยอีกสองคน ในกรณีที่มีผู้อื่นเขียนให้ จะต้องแจ้งชื่อที่อยู่ของผู้เขียนให้นายอำเภอทราบด้วย เมื่ออยู่ต่อหน้านายอำเภอจะต้องให้ถ้อยคำต่อนายอำเภอและพยานว่า เป็นพินัยกรรมของตน แล้วนายอำเภอจะจดถ้อยคำนั้นไว้บนซองประทับตราตำแหน่งไว้ แล้วให้ผู้ทำพินัยกรรมกับพยานลงลายมือชื่อไว้บนซองนั้น เป็นอันเสร็จสิ้น
5.) พินัยกรรมแบบด้วยวาจา เป็นพินัยกรรมที่ทำขึ้นในภาวะฉุกเฉิน ไม่สามารถที่จะทำขึ้นในลักษณะอื่นได้ โดยจะต้องมีพฤติการณ์พิเศษ เช่น ผู้ที่ทำพินัยกรรมตกอยู่ในอันตรายใกล้ความตาย อยู่ในเรือที่กำลังจะล่ม ในสถานที่ที่เกิดสงคราม เป็นต้น เมื่อเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ผู้ทำพินัยกรรมจะแสดงเจตนาของตนกำหนดข้อพินัยกรรมต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคน ซึ่งอยู่ด้วยกันในขณะนั้นว่า เมื่อตนตายไปแล้วจะยกทรัพย์สินให้ใครบ้าง หลังจากนั้นแล้ว พยานสองคนนั้นจะต้องรีบแสดงตนต่อหน้านายอำเภอโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะกระทำได้ พร้อมกับแจ้งข้อความตามที่ผู้ทำพินัยกรรมได้สั่งไว้, วันเดือนปี, สถานที่ที่ทำพินัยกรรม, และพฤติการณ์พิเศษนั้น ให้แก่นายอำเภอทราบ นายอำเภอจะจดข้อความดังกล่าวไว้ แล้วให้พยานสองคนลงลายมือชื่อ เป็นอันเสร็จสิ้น
การทำพินัยกรรมด้วยวาจานี้ ถ้าหลังจากทำเสร็จแล้ว ผู้ทำพินัยกรรมถึงแก่ความตายหลังจากนั้น พินัยกรรมก็ใช้บังคับได้ แต่ถ้าผู้ทำพินัยกรรมไม่ตายสามารถมีชีวิตรอดได้ พินัยกรรมจะยังคงบังคับได้ภายใน 1 เดือน นับตั้งแต่ผู้นั้นรอดชีวิตและอยู่ในภาวะที่จะทำพินัยกรรมในแบบอื่นๆได้ ฉบับ
การเพิกถอนพินัยกรรม
การเพิกถอนพินัยกรรม สามารถกระทำได้ 2 ลักษณะคือ
1.) โดยการทำพินัยกรรมขึ้นใหม่ ซึ่งเมื่อทำขึ้นใหม่แล้วก็เท่ากับเป็นการเพิกถอนฉบับเก่าไปในตัว การทำขึ้นใหม่ไม่จำเป็นต้องทำในลักษณะเดิมก็ได้ เพียงแต่จะต้องทำให้พินัยกรรมมีผลสมบูรณ์ ถูกต้องตามกำหมายเท่านั้น หรืออาจจะทำลายพินัยกรรมเดิมนั้นเสียก็ได้ หรือ 2.) โดยการโอนทรัพย์ที่มีทั้งหมดไป ซึ่งการโอนนี้จะเป็นการขาย การให้ หรืออย่างใดๆก็ได้ อันเป็นผลให้ทรัพย์สินตามพินัยกรรมสูญไป ก็เท่ากับเป็นการเพิกถอนพินัยกรรมไปในตัว ข้อสำคัญ การโอนนี้ต้องเกิดจากความตั้งใจของผู้โอนจริงๆ มิใช่เกิดจากการถูกขู่เข็ญจากบุคคลอื่น
การแบ่งปันทรัพย์มรดกระหว่างทายาท
การแบ่งปันทรัพย์ระหว่างทายาท หากผู้ตายได้ทำพินัยกรรมไว้ ก็แบ่งกันตามพินัยกรรม แต่หากไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ และระหว่างทายาทไม่สามารถตกลงกันได้ ก็ต้องแบ่งในส่วนที่เท่าๆกัน การแบ่งเท่าๆกันนี้เป็นการแบ่งในทรัพย์มรดกที่มีอยู่ หลังจากเจ้ามรดกตายแล้วเท่านั้น หากเกิดว่าทายาทคนใดได้ทรัพย์สินมาก่อนที่เจ้ามรดกจะตาย โดยการให้หรือการอย่างอื่น ซึ่งเจ้ามรดกทำให้โดยความเสน่หา ในระหว่างที่ยังมีชีวิตอยู่ จะไม่นับรวมเข้ามาด้วย ทายาทคนนั้นยังมีส่วนแบ่งเท่าๆกันในทรัพย์สินที่เป็นมรดก
การแบ่งปันทรัพย์นั้น อาจจะทำได้โดยทายาทแต่ละคน ต่างเข้าครอบครองทรัพย์สินเป็นสัดเป็นส่วนก็ได้ หรือจะขายทรัพย์นั้นแล้วเอาเงินมาแบ่งปันกันก็ได้ แต่หากว่าทายาทคนใดเห็นว่าตนไม่ได้รับส่วนแบ่ง หรือได้รับน้อยกว่าคนอื่น ทายาทผู้นั้นก็จะต้องไปฟ้องต่อศาลโดยต้องฟ้องคดีภายในอายุความ หากฟ้องเกินอายุความก็จะหมดสิทธิทันที ดูกำหนดอายุความในหัวข้อต่อไป
อายุความ
อายุความในการฟ้องร้องคดีขอแบ่งมรดก จะมีอายุความ 1 ปี นับแต่รู้ว่าเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย หรือ 10 ปีนับตั้งแต่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย หมายความว่าถ้ารู้เมื่อไหร่ก็ตามภายใน 10 ปี ก็ต้องฟ้องขอแบ่งมรดกเสียภายใน 1 ปีนับตั้งแต่ที่รู้ แต่ถ้าไม่รู้เลยว่าเจ้ามรดกตายเป็นเวลาถึง 10 ปี ก็หมดอายุความ
หากเป็นกรณีที่ทายาทยังมิได้แบ่งปันกัน แต่ต่างคนต่างเข้าครอบครองทรัพย์สินกันเป็นสัดเป็นส่วน อย่างนี้ไม่มีอายุความ ทายาทผู้นั้นสามารถที่จะเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกให้ตนได้ตลอด แต่ว่าจะขอแบ่งได้เฉพาะเท่าที่ตนครอบครองเท่านั้น ในส่วนที่ตนไม่ได้ครอบครองก็ต้องอยู่ในอายุความ เท่าที่เจอมาจากการทำคดี ส่วนใหญ่จะอ้างกันในลักษณะนี้คือ เรียกทรัพย์มรดกคืนในส่วนของตน ที่จำเลยได้ครอบครองแทนโจทก์มา กฎหมายเขาอนุญาตให้ผู้ที่ครอบครองทรัพย์มรดก สามารถขอแบ่งมรดกในส่วนที่ตนครอบครองได้โดยไม่มีอายุความ โจทก์ก็อ้างเสียเลยว่าจำเลยนะครอบครองแทนโจทก์ ทั้งๆที่โจทก์ไม่เคยได้เข้าครอบครองทรัพย์สินนั้นเลย ความลำบากก็ตกแก่จำเลยซิ ต้องหาพยานมาพิสูจน์ให้ศาลเห็นให้ได้ว่า จำเลยครอบครองเพื่อจำเลยเอง ไม่ได้ครอบครองแทนโจทก์ หากหาไม่ได้ก็แพ้คดี แล้วที่เจอมานะเป็นเรื่องตั้งแต่เมื่อ 30-40 ปีขึ้นไปแล้ว ตั้งแต่รุ่นพ่อแม่รับมาก็ตกลงกันได้ พอมาถึงรุ่นลูกเกิดอยากได้ขึ้นมาก็อาศัยวิธีนี้ แล้วจะไปหาพยานที่ไหนมาเล่า พ่อแม่ก็แก่พูดไม่รู้เรื่องแล้วก็มี หรือตายไปแล้วก็มี ฉะนั้น ทางที่ดีควรที่จะทำสัญญากันไว้ด้วยระหว่างทายาทจะเป็นการดีที่สุด หรือไม่เมื่อรับมาแล้วก็จำหน่ายไปซะแล้วไปหาซื้อเอาใหม่ จะได้ไม่มีปัญหากันในรุ่นลูกรุ่นหลาน

วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

สรุปทรัพย์-ที่ดิน

คัดลอกมาจาก คุณ kankokub เจ้าของได้กล่าวไว้ว่า
“หากเอกสารสรุปคำบรรยายนี้ มีข้อผิดพลาดประการใด ข้าพเจ้า kankokub ขออภัยและน้อมรับแต่เพียงผู้เดียว หากจะมีประโยชน์อยู่บ้างขอมอบให้แก่ ท่านอาจารย์ กนก อินทรัมพรรย์ ผู้บรรยาย , ผู้มีน้ำใจส่ง flie เสียงที่ทำให้ข้าพเจ้าได้มีโอกาสได้ฟังคำบรรยาย , บิดามารดาข้าพเจ้า”

กฎหมายทรัพย์-ที่ดิน
ควรจำตัวบทให้คล่องก่อน
ต้องทำความเข้าใจได้ด้วย ไม่ใช่การจำได้อย่างนกแก้วนกขุนทอง

ขอสอบเก่าก็สำคัญ

บรรพ 1 ลักษณะสาม และ บรรพ 4 เรื่องทรัพย์สิน
การเน้นกับการเก็งนั้นไม่เหมือนกัน การเก็งคือไม่มีความรู้เลย

มาตรา 137 – 148 เป็นเรื่องราวทั่วๆไป
ทรัพย์คืออะไร ทรัพย์สินคืออะไร แบ่งออกเป็นกี่ประเภท มีอะไรบ้าง
บรรพ 4 นั้น เป็นเรื่องของทรัพยสิทธิ ว่าทรัพยสิทธินั้นก่อตั้งได้อย่างไร
ก่อตั้งโดยกฎหมายเท่านั้น
ในฐานะที่เป็นเจ้าของทรัพยสิทธินั้นเจ้าของมีแค่ไหน การใช้สิทธิต่างๆนั้นมีข้อจำกัดที่ไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนในอสังหาริมทรัพย์นั้นอย่างไร
สิทธิครอบครองสิทธิจำนอง ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์

ในการสอบ ทั้งบรรพ 1 บรรพ 4 ก็ออกได้
ความหมายของคำว่าทรัพย์ กับ คำว่าทรัพย์สิน

มาตรา 137 ทรัพย์ หมายความว่า วัตถุมีรูปร่าง
มาตรา 138 ทรัพย์สิน หมายความรวมทั้งทรัพย์และวัตถุไม่มีรูปร่างซึ่งอาจมีราคาและอาจถือเอาได้

คำว่าทรัพย์ ที่บอกว่าเป็นวัตถุมีรูปร่างนั้น ต้องมีราคาและอาจถือเอาได้ด้วย

กระแสไฟฟ้า ซึ่งได้รับการยอมรับว่าไม่มีรูปร่าง ในมาตรา 334 ก็ดี มาตรา 335 กฎหมายอาญา ใช้คำว่าลักทรัพย์
ฏีกา 877/2501 การลักกระแสไฟฟ้า ย่อมเป็นผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 หรือ 335 แล้วแต่กรณี (ประชุมใหญ่ครั้งที่8/2501)

การลักกระแสไฟฟ้า เป็นการลักทรัพย์

ฎ.1880/2542 คำว่า "โทรศัพท์" สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนอธิบายว่าโทรศัพท์เป็นวิธีแปลงเสียงพูดให้เป็นกระแสไฟฟ้าแล้วส่งกระแสไฟฟ้าให้กลับเป็นเสียงพูดอีกครั้งหนึ่ง สัญญาณโทรศัพท์จึงเป็นกระแสไฟฟ้าที่แปลงมาจากเสียงพูดเคลื่อนที่ไปตามสายลวดตัวนำจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง การที่จำเลย ลักเอาสัญญาณโทรศัพท์จากตู้โทรศัพท์แห่งประเทศไทยไปใช้ เพื่อประโยชน์ของจำเลยโดยทุจริต จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์เช่นเดียวกับการลักกระแสไฟฟ้า จำเลยเป็นนักศึกษา อายุยังน้อย ประกอบกับได้ บรรเทาผลร้ายโดยชดใช้เงินให้แก่ผู้เสียหายไปแล้วและเพิ่ง กระทำความผิดครั้งนี้เป็นครั้งแรกจึงเห็นควรให้รอการลงโทษ จำเลยไว้ แต่เพื่อให้จำเลยหลาบจำเห็นสมควรลงโทษปรับด้วย


ความหมายของคำว่าอาจมีราคาและอาจถือเอาได้ ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งก้ไม่เป็นทรัพย์สิน ไม่เป็นทรัพย์

คำว่าคุณค่า ไม่จำเป็นต้องเป็นราคาก็ได้ อย่างเพชรเม็ดใหญ่ที่ ไปเอามาจากอินเดีย มีมูลค่าสูงจนกว่าที่จะตีราคาได้

วัตถุที่มีรูปร่างหมายถึงสิ่งที่เราเห็นได้ด้วยตาหรือแตะต้องด้วยประสาทสัมผัสได้

มนุษย์เราไม่อาจถือเอาได้ มนุษย์เราจึงไม่ใช่ทรัพย์

ความหมายของอสังฯ และสังหาฯ
มาตรา 139 อสังหาริมทรัพย์ หมายความว่า ที่ดินและทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินมีลักษณะเป็นการถาวรหรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้น และหมายความรวมถึงทรัพย์สินอันเกี่ยวกับที่ดินหรือทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินหรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้นด้วย

มาตรา 140 สังหาริมทรัพย์ หมายความว่า ทรัพย์สินอื่นนอกจากอสังหาริมทรัพย์ และหมายความรวมถึงสิทธิอันเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้นด้วย

ทั้งสองอย่าง รวมถึงสิทธิต่างๆด้วย ส่วนสังหาฯ ก็หมายความรวมถึงสิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้นด้วย ตามมาตรา 138 นั้นด้วย

มาตรา 139 แยกเป็นสี่ประการด้วยกัน

1.ที่ดิน

2.ทรัพย์ติดกับที่ดิน

3.ทรัพย์ประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดิน

4.สิทธิต่างๆของ 1- 3 นั้น

ฏีกา 755/2527 (ญ)

จำเลยเช่าที่ดินของโจทก์ทำไร่ แล้วจำเลยขุดเอาดินจากที่ดินนั้นไปขายโดยทุจริต จำเลยมีความผิดฐานลักทรัพย์ไม่ผิดฐานยักยอก เพราะการเช่าที่ดินนั้น ผู้ให้เช่าให้เช่าทรัพย์สินในสภาพที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ เมื่อที่ดินถูกขุดขึ้นมาแล้วย่อมเปลี่ยนสภาพเป็นสังหาริมทรัพย์ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่เช่า ดินที่ถูกขุดขึ้นมาจึงคงอยู่ในความครอบครองของผู้ให้เช่า (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 3/2527)

ดินออกมาเป็นก้อนดินเป็นเพียงสังหาฯ

ประเภทของที่ดิน ก็ไม่มีการแบ่งอย่างเคร่งครัด แต่อาจจัดกลุ่มได้ เป็น ที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์ได้ กับ ที่ดินที่มีเพียงสิทธิครอบครองเท่านั้น

เช่นเรื่องการจดทะเบียนสิทธิต่างๆในเรื่องการโอนการได้มาในกรรมสิทธิ์ หรือการครอบครองปรปักษ์

ที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์ คือ ตามโฉนด นอกจากนั้น ก็ตามประมวลกฎหมายที่ดิน คือ มาตรา 3

นอกจากโฉนดแผนที่แล้วก็ยังมีโฉนดตราจอง อีก

ที่ดินมือเปล่า ที่เป็นที่บ้านที่สวน ก็เป็นกรรมสิทธิ์ได้

คำพิพากษาฎีกาที่ 1188/2493
กู้เงินกันแล้วภายหลังลูกหนี้ยอมยกที่บ้านที่สวนให้แก่ผู้ให้กู้แทนการชำระหนี้นั้น ย่อมกระทำได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 ในกรณีเช่นนี้แม้จะยังมิได้จดทะเบียนให้สมบูรณ์ และยังครอบครองไม่ถึง 10 ปี ก็หาใช่เป็นการยึดถือครอบครองโดยปราศจากสิทธิไม่ ลูกหนี้จะใช้สิทธิตามมาตรา 1336 ติดตามเรียกทรัพย์คืนไม่ได้ เพราะสิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจะกระทำได้แก่บุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือเท่านั้น

คำพิพากษาฎีกาที่ 718/2498
ที่ส่วนหนึ่งของสวน แม้จะไม่มีไม้ยืนต้นอยู่เต็มเนื้อที่แต่ก็มีอยู่ไม่น้อยย่อมเป็นที่สวนตามกฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จบทที่ 42 ต้องใช้อายุความ 10 ปี

คำพิพากษาฎีกาที่ 742/2498
ที่ดินแม้จะเป็นที่มือเปล่าเมื่อปรากฏผู้ครอบครองเคยปลูกเรือนเสาไม้แก่นฝาขัดแตะหลังคาจากมีรั้วไม้ไผ่ล้อมรอบให้ผู้ดูแลอาศัยอยู่นับ 10 ปี เพิ่งรื้อไปปลูกในที่ติดกันเมื่อ 8 ปีมาแล้วทั้งโดยรอบก็เป็นที่บ้านดังนี้ย่อมถือได้ว่าที่นี้มีสภาพเคยเป็นที่บ้านมาแล้วจึงได้รับความคุ้มครองตาม กฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จบทที่ 42 โจทก์ฟ้องเมื่อจำเลยเข้าแย่งการครอบครองเพียงปีเศษคดีจึงยังไม่ขาดอายุความ

ที่ๆ ยังมีผู้ครอบครองอยู่มิใช่ที่รกร้างว่างเปล่าผู้ใดจะเข้าจับจองทับที่ซึ่งมีผู้ครอบครองอยู่หาได้ไม่

คำพิพากษาฎีกาที่ 570/2500
โจทก์บรรยายฟ้องว่า 'จำเลยใช้อุบายหลอกลวง โดยเอาความเท็จมากล่าวว่าจำเลยสามารถใช้วิทยาอาคมทำน้ำธรรมดาให้เป็นน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์ สามารถรักษาโรคภัยไข้เจ็บทุกชนิดให้หายได้ โดยจำเลยมีเจตนาทุจริตคิดหลอกลวงให้พวกเจ้าทุกข์ส่งเงินให้แก่จำเลย'และว่า'จำเลยใช้อุบายหลอกลวงโดยเอาความเท็จมากล่าวว่าจำเลยมีความสามารถใช้วิทยาคมได้' และว่า' จำเลยใช้อุบายหลอกลวงว่าน้ำมนต์ที่จำเลยทำสามารถรักษาโรคภัยไข้เจ็บทุกชนิดให้หายได้' เหล่านี้ย่อมชัดแจ้งตามกฎหมายที่โจทก์ฟ้องไม่เคลือบคลุม

เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์เป็นเอกสารมหาชน ซึ่งได้รับข้อสันนิฐานไว้ก่อน ว่า เป็นของแท้จริงและถูกต้อง เป็นหน้าที่ของคู่ความที่อ้างอิงจะต้องนำสืบถึงความไม่ถูกต้องในเอกสารนั้น

การขายที่ดินมี น.ส.3 เป็นการสละการครอบครองได้ สิทธิครอบครองทันที มีผลบังคับได้

คำพิพากษาฎีกาที่ 137/2535
จำเลยขายที่พิพาทซึ่งเป็นที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้โจทก์โดยไม่ได้ทำสัญญาเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคหนึ่ง แต่โจทก์ได้ครอบครองที่พิพาทหลังจากซื้อจากจำเลย โจทก์จึงได้สิทธิครอบครองจากการโอนตามมาตรา 1377,1378 หาจำต้องทำตามแบบของนิติกรรมไม่แต่จำเลยไม่มีหน้าที่ทางนิติกรรมในอันที่โจทก์จะฟ้องบังคับให้จำเลยจดทะเบียนแบ่งแยกที่พิพาทให้โจทก์ได้

คนที่มีชื่อในเอกสารสิทธิ์ก็จะเสียเปรียบแต่ปัจจุบันแนวได้เปลี่ยนไปแล้ว

คำพิพากษาฎีกาที่ 3565/2538
ที่ดินพิพาทที่ครอบครองอยู่เป็นส่วนหนึ่งของ สิทธิครอบครองต้องด้วยข้อสันนิฐานว่า ชื่อในทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ใช้รวมถึง นส 3 นส3ก ด้วย

มาตรา 1373 มีน้ำหนักมากกว่า 1367
ทรัพย์อันติดกับที่ดินถาวร ก็แบ่งเป็นธรรมชาติ หรือไม่เป็นธรรมชาติ ที่เห็นได้ชัดก็คือ ไม้ยืนต้น เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ

ไม่ยืนต้น คือ มีอายุ 3ปี

ไม้ล้มลุกก็ตรงกันข้ามคือไม้ที่มีพันธ์อายุไม่เกิน 3ปี

อะไรคือไม้ยืนต้นคงจะต้องดูจากพันธ์ของมันเป็นสำคัญ

อย่างไรก็ตามโลกสมัยใหม่อาจมีคนที่เก่งทำให้พืชไม้ล้มลุก เกินกว่าสามปี ก็คงไม่ทำให้ไม้เหล่านั้นเป็นไม้ยืนต้นไปได้ เพราะตามประกาศ รศ 129 นี้ ดูที่พันธุ์ไม้เป็นสำคัญ

ฎ.372/2498

พลูเป็นไม้ยืนต้นจึงเป็นส่วนควบของที่ดินผู้ใดเป็นเจ้าของที่ดินย่อมมีกรรมสิทธิ์

เจ้าของที่ดินตัดฟันต้นพลูซึ่งผู้เช่าปลูกอยู่ในที่ดินของตนก็เท่ากับทำลายทรัพย์ของตนเองจึงไม่มีความผิดฐานทำลายทรัพย์

ส่วนไม้ล้มลุก ส่วนใหญ่ก็พวกพืชผักสวนครัวต่างๆ หรือพวกธัญชาติ ก็พวกข้าวต่างๆ ข้าวเจ้า ข้าวโพด

เราจะเห็นได้ว่าอายุมันสั้นๆไม่เกินสามปี โดยนัยยะของมันไม่ติดกับที่ดินเป้นการถาวร จึงไม่เป็นอสังฯ

ข้อสำคัญพิจารณาก่อนว่าติดกับที่ดินหรือไม่ แล้วค่อยมาดูอายุพันธ์ว่าเกิน 3 ปี หรือไม่

เช่นต้นบอนไซ หรือ ต้นปาล์มที่ใส่ในโรงแรม

ประการที่สองคือทรัพย์ที่มนุษย์เป็นผู้นำไปติด

ข้อสำคัญคือโดยสภาพของมันต้องมีสภาพเป็นการติดที่ดินเป็นการถาวรแล้ว ไม่ว่าจะติดกับที่ดินนานเพียงใด

ถ้าสภาพของมันติดกับที่ดิน ไม่เป็นการถาวร เช่นการก่อสร้างอาคารใหญ่ๆ เริ่มแรกจะทำสำนักงานติดแอร์ไว้ในที่ก่อสร้างตู้คอนเทนเนอร์ก็ตั้งอยู่กับที่ดินเฉยๆ ก็ไม่ได้ ติดกับที่ดิน ไม่ได้ติดเป็นการถาวร ย้ายออกไปโดยง่าย

ในทางตรงกันข้าม ก็แสดงให้เห็นว่า เป็นการถาวรด้วย เช่นเราเอาธงชนะเลิศไปปัก ไว้ มันเป็นการถาวร แต่ก็ไม่ทำให้มันเป็นอสังหาริมทรัพย์ไปได้

ก็มีบางตำราอธิบายเพิ่มเติมว่า หากติดแล้ว การรื้อถอนออกไปจะทำให้ทรัพย์นั้นเสียรูปทรงหรือไม่ หากเสียรูปทรงก็คือย้ายยาก เป็นข้อเพื่อพิจารณาประกอบไม่ถือเป็นสาระมากนัก

ทั้งนี้ก็เพราะว่า อาจมีวิทยาการทำให้โยกย้ายทรัพย์ที่ติดถาวรนั้นโยกย้ายไปโดยไม่เสียทรงอย่างเช่น พระปาง หรือ บ้านเรือนไทย


คำพิพากษาฎีกาที่ 399/2509 (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4/2509)

เครื่องจักรโรงสี แม้จะมีน้ำหนักหรือราคามากสักเท่าใดโดยสภาพย่อมถอดถอนโยกย้ายได้มิใช่ทรัพย์ที่ติดอยู่กับที่ดินหรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินแต่ย่อมแยกออกจากตัวโรงสีได้โดยไม่ต้องทำลายหรือทำให้ตัวโรงสีนั้นเปลี่ยนแปลงรูปทรง ฉะนั้นแม้เครื่องจักรจะเป็นสาระสำคัญ ก็มิใช่ส่วนควบแต่เป็นเพียงของใช้ประจำอยู่กับโรงสี จึงเป็นเครื่องอุปกรณ์ซึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์เท่านั้น
สังหาริมทรัพย์นั้น ตามกฎหมายจำนองได้เฉพาะแต่ที่ระบุไว้ในมาตรา 703 เครื่องจักรโรงสีมิใช่ทรัพย์ที่ระบุไว้เช่นนั้น จึงจำนองไม่ได้


แผงลอยที่พ่อค้าแม่ค้า นำมาวางข้างถนน เป็นสังหาริมทรัพย์

คำพิพากษาฎีกาที่ 1733/2500
แผงลอยเป็นของเทศบาลหรือไม่และโจทก์เสียหายหรือไม่นั้น ได้เป็นประเด็นในคดีซึ่งทั้งโจทก์จำเลยได้นำสืบเสร็จสำนวนมาแล้ว ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจที่จะวินิจฉัยพิพากษาให้เสร็จไปได้โดยไม่จำเป็นต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่ (อ้างฎีกาที่ 144/2492)
จำเลยอ้างพยานเอกสารไว้ด้วยในการประกอบข้อต่อสู้ที่ว่าโจทก์ได้ยกร้านแผงลอยซึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์ ให้เทศบาลแล้วแต่เมื่อจำเลยเพียงนำพยานบุคคลมาสืบก็รับฟังได้เช่นนี้แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องนำพยานเอกสารเช่นว่านั้นมาสืบ

ส่วนเรื่องส่วนควบหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง อย่านำหลักการแบ่งมาตรา 139 ไปปะปนกับ มาตรา 144

ยกตัวอย่างกรณีที่ทรัพย์นั้นเป็นทั้งส่วนควบและอสังฯ

คำพิพากษาฎีกาที่ 610/2488 เกี่ยวกับเครื่องจักรทำน้ำโซดา
มารดาทำหนังสือสัญญายกที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งโรงทำน้ำโซดาให้แก่จำเลย สิ่งปลูกสร้างในที่ดินหมายถึงโรงเรือนเท่านั้น เครื่องจักร์ทำน้ำโซดาและอุปกรณ์ในการทำน้ำโซดาไม่ใช่เป็นส่วนควบของที่ดินนั้นด้วย
จำเลยเป็นผู้เก็บรักษาทรัพย์มฤดกและดำเนินการค้าไว้เป็นกองกลางก่อนแบ่งให้ทายาท แม้เกิน 1 ปีนับแต่เจ้ามฤดกตาย ผู้รับมฤดกก็ฟ้องขอแบ่งได้

เครื่องยนต์สีข้าวก็เช่นกัน

คำพิพากษาฎีกาที่ 503/2504
ผู้เช่าซื้อเอาเครื่องยนต์โรงสี จำนองไว้ในขณะที่ยังผ่อนส่งชำระราคาค่าเช่าซื้อไม่ครบนั้นเป็นการจำนองที่ฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 705

เครื่องยนต์สีข้าว ไม่ใช่ทรัพย์ส่วนควบของตัวโรงสี จำนองไม่ได้ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 703

คำพิพากษาฎีกาที่ 312/2498
ไม้ที่ตีทำนอง เป็นฝาแต่ตีผิดธรรมดา กล่าวคือตีตะปูหัวกระดานและท้ายกระดานข้างละ 1 ตัวไม้ที่ตีก็เหลื่อมยาวออกนอกเสาข้างละศอกเศษ บางด้านทำเป็นฝาซ้อน ฝาก็ตีไม่ชิดหรือซ้อนกัน(ทับเกล็ด) ตีห่างเป็นช่องเล็กบ้างใหญ่บ้างไม่เท่ากันทั้งเป็นไม้ที่ยังใหม่และยังไม่ไสกบเช่นนี้เป็นการกระทำขึ้นชั่วคราวไม่มีเจตนาจะประกอบเป็นสิ่งก่อสร้างจริงจังแต่อย่างใดหากแต่ทำพรางไว้เพื่อเลี่ยงกฎหมายจะฟังว่าเป็นไม้ที่ประกอบอยู่เป็นสิ่งก่อสร้างยังไม่ได้

ที่พักคนงานชั่วคราวลักษณะเป็นการถาวร แม้จะทำเป็นชั่วคราว อาจรื้อไปเมื่อไหร่ก็ได้ แต่เมื่อมันเป็นการติดเป็นการถาวร ก็เป็นอสังฯ ไม่ดูเจตนา

คำพิพากษาฎีกาที่ 499/2491
โรงเรือนที่โดยสภาพเป็นอสังหาริมทรัพย์นั้นถ้าเจ้าของยกให้โดยให้รื้อถอนไปจากที่ดินผู้รับจึงรื้อถอนไปนั้นสภาพของเรือนตอนที่ถูกรื้อโดยคำสั่งของผู้ให้นี้ ไม่อยู่ในลักษณะที่จะเป็นอสังหาริมทรัพย์ต่อไป แต่ได้กลายสภาพเป็นสังหาริมทรัพย์แล้วแต่บัดนั้น การยกให้แม้จะไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนก็ย่อมสมบูรณ์

คำพิพากษาฎีกาที่ 755/2527
จำเลยเช่าที่ดินของโจทก์ทำไร่ แล้วจำเลยขุดเอาดินจากที่ดินนั้นไปขายโดยทุจริต จำเลยมีความผิดฐานลักทรัพย์ไม่ผิดฐานยักยอก เพราะการเช่าที่ดินนั้น ผู้ให้เช่าให้เช่าทรัพย์สินในสภาพที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ เมื่อที่ดินถูกขุดขึ้นมาแล้วย่อมเปลี่ยนสภาพเป็นสังหาริมทรัพย์ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่เช่า ดินที่ถูกขุดขึ้นมาจึงคงอยู่ในความครอบครองของผู้ให้เช่า (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 3/2527)

ทรัพย์ซึ่งประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดิน ตามประมวลกฎหมายที่ดินนั้น ก็เป็นเรื่องของที่ดินอยู่ในนิยามเลย

ทรัพย์ประกอบกับที่ดินก็เช่นเดียวกันคืออาจเกิดจากการกระทำของมนุษย์

ถ้าแยกออกจากที่ดินก็ กลายเป็นสังหาริมทรัพย์นับแต่เวลาที่ได้แยกไป

ทรัพย์ประการที่สี่คือวัตถุที่ไม่มีรูปร่าง เป็นพวกทรัพย์สิทธิ์ อันเกี่ยวกับอสังฯ ตามมาตรา 139 ถือเป็นสามประเภท คือเกี่ยวกับที่ดิน เกี่ยวกับทรัพยิอันติดกับที่ดิน อันสุดท้ายก็คือทรัพย์สิทธิ์อันประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดิน

ในเรื่องจำนองมีข้อสังเกตว่านอกจากอสังฯแล้วยังขยายไปจำนองสังหาฯบางประเภทด้วย

สิทธิในการเช่าซื้ออสังฯเป็นอสังฯหรือไม่ ก็จะเห็นว่า มันไม่ใช่ทรัพยสิทธิ แต่เป็นบุคคลสิทธิ จึงไม่เป็นอสังฯ

สังหาฯ ก็แปลความกลับกันของอสังฯ

1.ไม่ใช่อสังฯ

2.สิทธิอันเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้น

คำพิพากษาฎีกาที่ 685/2507
เมื่อสัญญาซื้อขายที่ดินตอนต้นระบุถึงที่ดินซึ่งมีห้องแถวรวมอยู่ด้วย แม้ตอนต่อมาจะเขียนสัญญาซื้อขายใช้คำแต่เพียงว่า ผู้ขายยอมขายที่ดิน ผู้ซื้อยอมรับซื้อที่ดินโดยไม่มีข้อความเพิ่มเติมว่า "พร้อมกับห้องแถวด้วย" ก็ต้องหมายความว่า เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมด้วยสิ่งปลูกสร้าง คือห้องแถวพิพาทซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินและเป็นส่วนควบของที่ดิน
เมื่อสัญญาซื้อขายแสดงว่า ยอมขายห้องแถวด้วย โดยไม่มีข้อตกลงพิเศษว่า ให้ห้องแถวคงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์โจทก์ซึ่งเป็นผู้ขายไม่มีสิทธินำสืบว่าต้องการขายแต่ที่ดิน ไม่ขายห้องแถว เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94

สังเกตว่ากฎหมายใช้คำว่า สิทธิทั้งหลายอันเกี่ยวกับ สังหาฯนั้น สิทธิในสังหาฯ ที่มีรูปร่าง กับ สิทธิในสังหาฯไม่มีรูปร่าง เช่นกรรมสิทธิ์ ในรถยนต์ สิทธิในการเช่ารถยนต์

ทรัพย์แบ่งได้/ไม่ได้ ทรัพย์นอกพาณิชย์ สวนควบ

มาตรา 141 ทรัพย์แบ่งได้ หมายความว่า ทรัพย์อันอาจแยกออกจากกันเป็นส่วน ๆ ได้จริงถนัดชัดแจ้งแต่ละส่วนได้รูปบริบูรณ์ลำพังตัว

มาตรา 142 ทรัพย์แบ่งไม่ได้ หมายความว่า ทรัพย์อันจะแยกออกจากกันไม่ได้นอกจากเปลี่ยนแปลงภาวะของทรัพย์ และหมายความรวมถึงทรัพย์ที่มีกฎหมายบัญญัติว่าแบ่งไม่ได้ด้วย

จากมาตรา 141 อาจแยกองค์ประกอบได้สองประการ
หนึ่ง ต้องเป็นทรัพย์ที่ สามารถแยกจากกันได้
สอง ต้องไม่เสียสภาพเมื่อได้แยกจากกัน กฎหมายใช้คำว่า แยกออกจากกันเป็นส่วน ๆ ได้จริงถนัดชัดแจ้งแต่ละส่วนได้รูปบริบูรณ์ลำพังตัว

พี่น้องได้ที่ดินจากมรดก ก็นำที่ดินมาแบ่งกันคนละ 25 ไร่ ก็ได้รูปบริบูรณ์ลำพังตัว ก็ได้ถือเป็นทรัพย์แบ่งได้

มีความหมายสองนัยยะ คือแบ่งไม่ได้โดยสภาพของมันเอง แยกออกจากกันไม่ได้นอกจากเปลี่ยนแปลงภาวะของทรัพย์ และประการที่สองคือ แบ่งไมได้โดยผลกฎหมาย

เสื้อเชิ้ตสีขาว ถ้าไปตัดคอออก ตัดแขนออกก็กลายเป็น เสื้อกั๊กไป

หรือทรัพย์ที่แบ่งไม่ได้โดยอำนาจของกฎหมาย เช่นกรณีของหุ้น ก็มีปพพ มาตรา 1118 วรรค หนึ่ง

มาตรา 1118 อันหุ้นนั้น ท่านว่าจะแบ่งแยกหาได้ไม่
ถ้าบุคคลมีจำนวนแต่สองคนขึ้นไปถือหุ้น ๆ เดียวร่วมกัน ท่านว่าต้องตั้งให้คนใดคนหนึ่งในจำนวนนั้นแต่คนเดียวเป็นผู้ใช้สิทธิในฐานเป็นผู้ถือหุ้น
อนึ่งบุคคลทั้งหลายซึ่งถือหุ้น ๆ เดียวร่วมกัน ต้องร่วมกันรับผิดต่อบริษัทในการส่งใช้มูลค่าของหุ้น

นอกจากนั้นยังมีในเรื่องส่วนควบ

มาตรา 144 ส่วนควบของทรัพย์ หมายความว่า ส่วนซึ่งโดยสภาพแห่งทรัพย์หรือโดยจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นเป็นสาระสำคัญในความเป็นอยู่ของทรัพย์นั้น และไม่อาจแยกจากกันได้นอกจากจะทำลายทำให้บุบสลาย หรือทำให้ทรัพย์นั้นเปลี่ยนแปลงรูปทรงหรือสภาพไป
เจ้าของทรัพย์ย่อมมีกรรมสิทธิ์ในส่วนควบของทรัพย์นั้น

เป็นเรื่องที่กฎหมายไม่ต้องการ แบ่งแยกทรัพย์สินนี้ หรือไม่สามารถแบ่งแยกออกจากกันได้

เรื่องของภาระจำยอมก็เช่นเดียวกัน คือต้องติดไปกับตัวทรัพย์เสมอ สำหรับสิทธิจำนองก็เช่นเดียวกัน
มาตรา 717 แม้ว่าทรัพย์สินซึ่งจำนองจะแบ่งออกเป็นหลายส่วนก็ตาม ท่านว่าจำนองก็ยังคงครอบไปถึงส่วนเหล่านั้นหมดทุกส่วนด้วยกันอยู่นั่นเอง
ถึงกระนั้นก็ดี ถ้าผู้รับจำนองยินยอมด้วย ท่านว่าจะโอนทรัพย์สินส่วนหนึ่งส่วนใดไปปลอดจากจำนองก็ให้ทำได้ แต่ความยินยอมดังว่านี้หากมิได้จดทะเบียน ท่านว่าจะยกเอาขึ้นเป็นข้อต่อสู้แก่บุคคลภายนอกหาได้ไม่
สิทธิจำนองก็ครอบไปทั้งตัวทรัพย์ก็แบ่งจากตัวทรัพย์นั้นไม่ได้

เหตุผลที่กฎหมายแบ่ง ก็เพื่อประโยชน์ในการแบ่งทรัพย์ของเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม

ในความเป็นจริงคนที่เกี่ยวข้องอาจตกลงกันแบ่งไม่ได้ แต่นั้นเป็นเรื่องของข้อเท็จจริงไม่ใช่ข้อกฎหมาย ก็ต้องมาขอใช้สิทธิทางศาล

ยกตัวอย่างฏีกา เรื่องช้าง

คำพิพากษาฎีกาที่ 1303/2510
ช้างของกลางเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของสองคน คนละกึ่งหนึ่งเจ้าของคนหนึ่งรู้เห็นเป็นใจให้จำเลยนำช้างของกลางไปชักลากไม้ที่แปรรูปโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานตามกฎหมาย ดังนี้ ศาลย่อมริบช้างของกลางกึ่งหนึ่งเฉพาะส่วนของเจ้าของคนที่รู้เห็นเป็นใจสำหรับอีกกึ่งหนึ่งให้ตกได้แก่เจ้าของที่ไม่ได้รู้เห็นเป็นใจ จะริบทั้งหมดหาได้ไม่

ทรัพย์นอกพาณิชย์

มาตรา 143 ทรัพย์นอกพาณิชย์ หมายความว่า ทรัพย์ที่ไม่สามารถถือเอาได้ และทรัพย์ที่โอนแก่กันมิได้โดยชอบด้วยกฎหมาย

1. ไม่สามารถถือเอาได้ ก็อาจจะงง ว่า มันจะเรียกว่าทรัพย์ได้อย่างไร ในเมื่อทรัพย์นั้นต้องมีราคาและถือเอาได้

เราก็ดูว่าทรัพย์นั้นสามารถจำหน่ายจ่ายโอนได้ตามปกติในทางพาณิชย์หรือไม่

เช่น ดวงจันทร์ สายลม แสงแดด พระอาทิตย์

2.ไม่อาจโอนกันได้โดยชอบด้วยกฎหมาย อาจมีการบัญญัติไว้โดยตรงว่าห้ามโอน
คือไม่ได้บัญญัติโดยตรง แต่ผลของมันทำให้โอนไมได้ อาจมีศักดิ์ต่างกันหรือ เช่นเดียวกันก็ได้

ผลก็คือห้ามโอน โดยต้องเป็นการห้ามโอนในลักษณะที่เป็นการถาวร เช่น กรณีที่หลังแดงนี้ไม่ใช่

การโอนกรรมสิทธิ์ที่วัดที่ธรณีสงฆ์หรือสาธารณะสมบัติให้ทำโดยพระราชบัญญัติ คือให้ทำโดยกฎหมายเท่านั้น โดยผลของมาตรา 34 แห่ง พรบ นี้ ก็ทำให้ ที่ดินเหล่านั้นเป็นทรัพย์นอกพาณิชย์ทั้งสิ้น

ส่วนที่สาธารณะสมบัติกลางนั้น ก็หมายถึงเป็นทรัพย์สินของพระศาสนา ในเรื่องทรัพย์นอกพาณิชย์มีเรื่องที่อยากพูดเพิ่มเติมสองประเด็นคือการเป็นทรัพย์นอกพาณิชย์ต้องเป็นทรัพย์ที่ถูกห้ามโอนโดยนิติกรรม นอกจากพินัยกรรมด้วย โดยมาตรา 1700 วรรค 1

มาตรา 1700 ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติในหมวดนี้บุคคลจะจำหน่ายทรัพย์สินใด ๆ โดยนิติกรรมที่มีผลในระหว่างชีวิต หรือเมื่อตายแล้ว โดยมีข้อกำหนดห้ามมิให้ผู้รับประโยชน์โอนทรัพย์สินนั้นก็ได้ แต่ต้องมีบุคคลใดบุคคลหนึ่งนอกจากผู้รับประโยชน์กำหนดไว้ สำหรับเป็นผู้จะได้รับทรัพย์สินนั้นเป็นสิทธิเด็ดขาด ในเมื่อมีการละเมิดข้อกำหนดห้ามโอน
ผู้ซึ่งกำหนดขึ้นดังกล่าวนั้นต้องเป็นผู้สามารถจะมีสิทธิต่างๆได้อยู่ในขณะที่การจำหน่ายทรัพย์สินนั้นมีผลบังคับ
ถ้ามิได้กำหนดบุคคลที่จะเป็นผู้รับทรัพย์สินในเมื่อมีการละเมิดข้อกำหนดห้ามโอนไว้ให้ถือว่าข้อกำหนดห้ามโอนนั้นเป็นอันไม่มีเลย

การห้ามโอนอย่างนี้ไม่ทำให้ทรัพย์สินนั้นกลายเป็นทรัพย์นอกพาณิชย์

กฎหมาย ที่ไม่ได้ห้ามโอนที่ดินที่เกี่ยวข้องโดยเด็ดขาด ก็ไม่ทำให้เป็นทรัพย์นอกพาณิชย์

ก่อนจะผ่านในเรื่องของทรัพย์นอกพาณิชย์ไปขอสรุปในเรื่องกรณีที่ ที่ดินเป็นทรัพย์นอกพาณิชย์ กับที่ดินที่มีข้อกำหนดของกฎหมาย ห้ามโอน ซึ่งหากไปโอนเข้าก็จะเป็นการขัดต่อ วัตถุประสงค์ต้องห้ามโดยชัดแจ้งก็เป็นโมฆะ

ถ้าเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดในระยะเวลาห้ามโอนนั้น เป็นโมฆะ ที่เป็นโมฆะเพราะตามมาตรา 150 ปพพ

ข้อเท็จจริงนี้เป็นตัวชี้ว่าเป็นการจงใจหลีกเลี่ยงตามกฎหมายหรือไม่ ก็เช่นการส่งมอบการครอบครอง

ข้อสำคัญอยู่ที่หากมิได้ส่งมอบการครอบครองในระยะเวลาดังกล่าว ไม่ถือเป้นการ ต้องห้ามโดยชัดแจ้งตามกฎหมาย

คำพิพากษาฎีกาที่ 6450/2538
ขณะที่โจทก์กับจำเลยทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกันนั้นยังอยู่ในระยะเวลาการห้ามโอนตามกฎหมาย นิติกรรมซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงตกเป็นโมฆะ เพราะฝ่าฝืนต่อกฎหมาย และในกำหนดเวลาห้ามโอนนี้ย่อมไม่อาจส่งมอบการครอบครองแก่กันได้การส่งมอบการครอบครองในระยะเวลาการห้ามโอนตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ก็ถือเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายเช่นกัน ดังนี้แม้จะฟังว่าจำเลยส่งมอบการครอบครองให้แก่โจทก์แล้ว โจทก์ก็ไม่ได้ครอบครองในที่ดินพิพาทแต่อย่างใด

คำพิพากษาฎีกาที่ 1136/2540
จำเลยได้ขายที่พิพาทเป็นที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิซึ่งจำเลยครอบครองอยู่ให้ผู้ร้องและ ส. โดยทำสัญญาซื้อขายกันเองต่อมาทางราชการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่พิพาทให้จำเลยโดยมีข้อกำหนดห้ามโอน 10 ปี ในวันเดียวกันนั้นจำเลยจดทะเบียนจำนองที่พิพาทกับผู้ร้องและ ส. และได้ส่งมอบการครอบครองที่พิพาทให้ผู้ร้องและ ส. ตั้งแต่วันจดทะเบียนจำนองการที่จำเลยกับผู้ร้องมีเจตนาจะผูกพันกันตามสัญญาซื้อขาย แต่เมื่อปรากฏว่าในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวมีข้อกำหนดห้ามโอนเป็นเวลา 10 ปี ผู้ร้องและ ส.ไม่สามารถจดทะเบียนซื้อขายที่พิพาทกันได้ จึงได้ทำจำนองในวงเงินเท่ากับราคาซื้อขายกันไว้โดยจำเลยได้ให้คำมั่นที่จะขายที่พิพาทให้เมื่อพ้นกำหนดเวลาห้ามโอนตามพฤติการณ์จึงชี้ให้เห็นว่าสัญญาจำนองเป็นเพียงนิติกรรมอำพรางสัญญาซื้อขายโดยคู่สัญญาไม่มีเจตนาผูกพันกันในเรื่องจำนองสัญญาจำนองจึงตกเป็นโมฆะ แต่เนื่องจากทางราชการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์โดยมีข้อกำหนดห้ามโอนสัญญาซื้อขายระหว่างจำเลยกับผู้ร้องและ ส. จึงตกเป็นโมฆะไปด้วย ผู้ร้องจึงมิได้มีสิทธิใด ๆในที่พิพาท และแม้ผู้ร้องยังคงครอบครองที่พิพาทอยู่เมื่อพ้นกำหนดเวลาห้ามโอนแล้วก็ตาม ก็ถือว่าเป็นการครอบครองแทนจำเลยผู้เป็นเจ้าของเดิม จำเลยจึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่พิพาทและโจทก์ย่อมมีสิทธินำยึดที่พิพาทเพื่อขายทอดตลาดนำเงินชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้

ส่วนประกอบของทรัพย์

ส่วนควบตามมาตรา 144 -146

อุปกรณ์ตามมาตรา 147

ดอกผล 148

วัตถุประสงค์ ของกฎหมายมีเพื่อไม่มีปัญหาในเรื่องการอ้างกรรมสิทธิ์ในตัวทรัพย์หลายๆสิ่ง

ต้องเป็นการแก้ ปํญหา

มาตรา 144 ส่วนควบของทรัพย์ หมายความว่า ส่วนซึ่งโดยสภาพแห่งทรัพย์หรือโดยจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นเป็นสาระสำคัญในความเป็นอยู่ของทรัพย์นั้น และไม่อาจแยกจากกันได้นอกจากจะทำลายทำให้บุบสลาย หรือทำให้ทรัพย์นั้นเปลี่ยนแปลงรูปทรงหรือสภาพไป
เจ้าของทรัพย์ย่อมมีกรรมสิทธิ์ในส่วนควบของทรัพย์นั้น

มาตรา 145 ไม้ยืนต้นเป็นส่วนควบกับที่ดินที่ไม้นั้นขึ้นอยู่ไม้ล้มลุกหรือธัญชาติอันจะเก็บเกี่ยวรวงผลได้คราวหนึ่งหรือหลายคราวต่อปีไม่เป็นส่วนควบกับที่ดิน

มาตรา 146 ทรัพย์ซึ่งติดกับที่ดินหรือติดกับโรงเรือนเพียงชั่วคราว ไม่ถือว่าเป็นส่วนควบกับที่ดินหรือโรงเรือนนั้น ความข้อนี้ให้ใช้บังคับแก่โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ซึ่งผู้มีสิทธิในที่ดินของผู้อื่นใช้สิทธินั้นปลูกสร้างไว้ในที่ดินนั้นด้วย

ก็มีกรณีที่โรงเรือนเป็นเพียงอสังฯไม่เป็นส่วนควบเป็นต้นว่าเช่นที่ดินเพื่อปลูกบ้านอยู่อาศัย

คำพิพากษาฎีกาที่ 108/2516

1. การที่จะวินิจฉัยว่าทรัพย์ใดเป็นอสังหาริมทรัพย์หรือไม่นั้น ย่อมอยู่ที่ลักษณะสภาพของตัวทรัพย์นั้นเองว่าเป็นทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดิน.ตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 100 หรือไม่ ส่วนทรัพย์นั้นจะเป็นส่วนควบของที่ดินหรือไม่เป็นคนละเรื่องกัน ดังเช่นปลูกตึกลงในที่ดินที่เช่าผู้อื่นเป็นการชั่วคราวตึกนั้นย่อมไม่เป็นส่วนควบของที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 109 แต่ลักษณะสภาพของตึกเป็นทรัพย์ติดอยู่กับที่ดินเป็นการถาวรตึกนั้นจึงเป็นอสังหาริมทรัพย์ การซื้อขายตึกเช่นว่านี้จึงต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
2. แม้ข้อความในสัญญาจะมีเงื่อนไขว่า ผู้ขายมีสิทธิซื้อโรงเรือนคืนได้ภายในกำหนด 5 เดือนก็ดี แต่ในสัญญานั้นเองก็มีข้อความว่า ยอมให้ผู้ซื้อยึดถือครอบครองเป็นเจ้าของตั้งแต่วันทำสัญญา โดยที่ผู้ขายซึ่งยังคงอาศัยอยู่ในโรงเรือนต้องเสียค่าตอบแทน ซึ่งในสัญญาเรียกว่าดอกเบี้ยให้แก่ผู้ซื้อเป็นรายเดือน และผู้ขายก็ได้รับเงินค่าโรงเรือนไปครบถ้วนแล้ว ดังนี้ สัญญาพิพาทจึงมิใช่สัญญาจะซื้อจะขาย หากแต่เป็นสัญญาซื้อขายเด็ดขาดในลักษณะของสัญญาขายฝากอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งถ้ามิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมตกเป็นโมฆะ

3. จำเลยที่ 3 ต้องการเงิน 30,000 บาทเพื่อนำไปชำระหนี้ผู้อื่น จึงขอให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ซึ่งเป็นน้อง ทำสัญญาขายโรงเรือนให้โจทก์ ในสัญญาพิพาทมีเงื่อนไขว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 จะซื้อคืนได้ภายใน 5 เดือนเท่าราคาขายพร้อมด้วยดอกเบี้ย และโจทก์ผู้ซื้อยอมให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ยังคงอาศัยอยู่ในโรงเรือนได้ นอกจากนี้จำเลยที่ 3 ยังได้ทำสัญญาค้ำประกันกับโจทก์อีกฉบับหนึ่งว่า เมื่อครบกำหนด 5 เดือน ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ยอมออกจากโรงเรือน และไม่สามารถใช้เงิน 30,000 บาทกับดอกเบี้ยคืนให้โจทก์แล้ว จำเลยที่ 3 ยอมใช้เงิน30,000 บาทกับดอกเบี้ยแทน ดังนี้ สัญญาพิพาทเข้าแบบเป็นนิติกรรมกู้ยืมเงินอีกอย่างหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 136 โจทก์ย่อมฟ้องเรียกเงินคืนพร้อมดอกเบี้ยได้ แม้ในคำบรรยายฟ้องโจทก์จะไม่ได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้งว่า หากสัญญาพิพาทเป็นโมฆะแล้ว โจทก์จำเลยตั้งใจให้สมบูรณ์ในแบบสัญญากู้เงินก็ดี เมื่อตามฟ้องของโจทก์คำให้การจำเลยประกอบกับข้อนำสืบของทั้งสองฝ่ายรับฟังข้อเท็จจริงเป็นอย่างใดแล้ว ก็เป็นเรื่องของศาลที่จะยกบทกฎหมายขึ้นปรับคดีเองได้ ทั้งโจทก์มีคำขอให้จำเลยใช้เงินคืนให้โจทก์ด้วย จึงไม่ใช่นอกฟ้องนอกประเด็นแต่อย่างใด
(ข้อ 3 วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 38/2515)

ต้มยำโป๊ะแตก ก็เป็นการนำอาหารทะเลหลายอย่างมาทำ อันนี้ก็คงเป็นการยากว่าอะไรที่เป็นทรัพย์ที่เป็นประธาน หรืออย่างกรณีเก้าอี้เล็คเชอร์ คงจะยากที่จะวินิจฉัยว่าอะไรสำคัญมากกว่า ไม่ว่าจะเป็นตัวโครงเหล็ก หรือ ไม้ที่รองนั่ง

มาตรา 1308 ก็เลยเป็นการตัดปัญหาเลยว่า อะไรเป็นทรัพย์ประธานใครเป็นเจ้าของ ไม่ต้องนำมาตรา 144 มาวินิจฉัยเลย ให้เป็นที่งอกริมตลิ่งเลย



ข้อสังเกตคือ ปัญหาว่าอะไรเป็นส่วนควบ อุปกรณ์ดอกผล ในชั้นนี้เราก็ต้องระวังเพราะเราเรียนเพื่อไปใช้ในทางปฏิบัติได้ถูกต้อง ต้องระวังว่ามันไม่ใช่เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน การยกเป็นข้ออ้างนั้น เป็นประเด็นในคำคู่ความ

ประการที่สาม ส่วนควบจะเป็นอสังฯ เช่นบ้าน หรือจะเป็นสังหาฯก็ได้

ประการที่สี่ คือเจ้าของทรัพย์ต่างๆ อาจจะเป็นคนเดียวกันก็ได้หรือมีหลายคนเป็นเจ้าของก็ได้ ผมซื้อวัสดุ เป็นโครงเหล็กแผ่นรองนั่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นผมคนเดียวหรือมีหลายคนมาร่วมสร้างก็ได้
เจ้าของทรัพย์ย่อมมีกรรมสิทธิ์ในส่วนควบของทรัพย์นั้น

ประการที่ห้า เจ้าของทรัพย์ประธานก็เป็นเจ้าของส่วนควบ ในกรณีที่ไม่อาจหาได้เช่นต้มยำโป๊ะแตก ก็ต่างก็เป็นเจ้าของทุกคน เช่น แว่นตา ความสำคัญก็คือทั้งกรอบ ทั้งตัวเลนท์

ประการที่หก คือ การนำทรัพย์มารวมกันนั้นมีทั้งทรัพย์วัสดุและฝีมือ เช่น การทำรูปศิลปะ มีทั้งไม้ สี ไม้กรอบ ผ้าใบ ในการวาดรูปนั้นต้องใช้ฝีมือพอสมควรแต่แรงงานหรือฝีมือนั้นเราไม่ถือเป็นส่วนควบแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่ได้คำนึงถึงแรงงานหรือฝีมือนั้นเลย อาจจะมีการพิเคราะห์ แรงงาน ด้วย
งานหรือฝีมือเราไม่ถือว่าเป็นส่วนควบตามกฎหมาย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่คำนึงถึงแรงงานในส่วนนั้นเลย อาจเป็นการชดใช้ตามมาตรา 1337

องค์ประกอบการเป็นส่วนควบตามมาตรา 144 วรรค หนึ่ง ก็มีองค์สองประการ
ประการที่ หนึ่ง คือทรัพย์ที่เข้ามานั้นเป็นสาระสำคัญในความเป็นอยู่แห่งทรัพย์เดิม

ประการที่สอง ไม่อาจแยกจากกันได้นอกจากทำลายไป
การจะดูว่าอะไรเป็นสิ่งสำคัญหรือไม่ เราจะต้องดูตัวทรัพย์ว่าจะอยู่ได้หรือไม่ถ้าไม่มีส่วนควบนั้น จะเรียกว่าทรัยยพ์สินนั้นหรือไม่ ถ้าไม่มีสิ่งที่จะเป็นส่วนควบ
การเป็นสาระสำคัญนั้น มาตรา 144 มีสองลักษณะด้วยกัน คือโดยสภาพของทรัพย์นั้นเอง
หรือประการที่สองคือจารีตประเพณีหรือท้องถิ่น อย่างกรณีของที่ดินหรือบ้านเป็นต้น โดยสภาพไม่มีบ้านเราก็ใช้อย่างเป็นที่ดินได้ ไปเพาะปลูกไปเล่นกีฬา แต่ที่ถือว่าบ้านเป็นส่วนควบนั้นก็เพราะดูโดยจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น
ดูง่ายๆอย่างที่ดินที่ มีคนไปปลูกบ้านนั้นก็จะมีมูลค่าสูงขึ้น เป็นแหล่งชุมชนมีมูลค่ามากกว่าที่ป่า
หรือเรือนไทยที่นำไม้มาขัดต่อกัน ตอกเรือนไป การแยกเรือนไป สร้างครอบครัว อาจเริ่มจากเรือนหอเรือนประธานเท่านั้น ติดกับเรือนหอก็ย่อมลงมาเป็นครัวไฟ เพราะเราใช้ถ่านในการหุ้งต้ม อยู่ไปสักพักครอบครัวขยาย มีบุตร มีคนใช้ ข้าทาสบริวาร เรือนนั้น ก็ขยาย เป็นเรือนบริวาร ในที่สุดเรือนไทยโบราณก็มีสิ่งก่อสร้างติดต่อกันสี่ห้าหลัง โดยมีชานเรือนเป็นที่กว้างเพื่อทำกิจกรรมร่วมกัน ทุกส่วนนี้ล้วนเป็นสาระสำคัญในการเป็นอยู่ซึ่งกันและกัน เพราะว่าสมัยก่อน เรามีลักษณะต้องหุ้งหาอาหารเอง ครัวไฟจึงเป็นส่วนประกอบที่สาระสำคัญของบ้าน
คำพิพากษาฎีกาที่ 86/2493 ครัวไฟเป็นส่วนควบของเรือนใหญ่ เมื่อทำสัญญาขายฝากเรือนย่อมหมายรวมถึงขายฝากทั้งครัวด้วย แม้ในสัญญาขายฝากจะระบุรายการไว้แต่เรือนหลังใหญ่เท่านั้นก็ตาม ครัวไฟเป็นสาระสำคัญ
คำพิพากษาฎีกาที่ 610/2488
มารดาทำหนังสือสัญญายกที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งโรงทำน้ำโซดาให้แก่จำเลย สิ่งปลูกสร้างในที่ดินหมายถึงโรงเรือนเท่านั้น เครื่องจักร์ทำน้ำโซดาและอุปกรณ์ในการทำน้ำโซดาไม่ใช่เป็นส่วนควบของที่ดินนั้นด้วย
จำเลยเป็นผู้เก็บรักษาทรัพย์มฤดกและดำเนินการค้าไว้เป็นกองกลางก่อนแบ่งให้ทายาท แม้เกิน 1 ปีนับแต่เจ้ามฤดกตาย ผู้รับมฤดกก็ฟ้องขอแบ่งได้

เครื่องจักรทำน้ำโซดา และอุปกรณ์ทำน้ำโซดา ไม่ได้เป็นสาระสำคัญในการเป็นอยู่แห่งทรัพย์ที่ดินนั้นเลย ทั้งโดยสภาพหรือ จารีตประเพณีมันก็ไม่ใช่สาระสำคัญเลย ไม่มีจารีพประเพณีที่ต้องใช้น้ำโซดากันทุกครัวเรือน

มีคำพิพากษาฏีกาอีก ว่าเป็นสาระสำคัญ คือ 1096-97/2510
เรือน 3 หลังปลูกติดต่อเป็นหลังเดียวกัน ทำรั้วบ้านด้านข้างติดต่อรั้วเดียวกันมีนอกชานด้านหน้าซึ่งทำประตูเข้าไว้ตรงนอกชานทั้งปรากฏว่าเจ้าของได้อยู่อาศัยอย่างเป็นบ้านเดียวกันมาหลายสิบปีและส่วนของสิ่งปลูกสร้างของเรือนหลังหนึ่งล้ำเข้าไปอยู่ในเรือนของอีกหลังหนึ่ง ตัวเรือนมีชายคาติดต่อต้องใช้รางน้ำร่วมกัน แม้เรือนทั้ง 3 หลังจะปลูกต่างปีกัน ก็ฟังได้ว่าเรือนทั้ง 3 หลังนั้นเป็นส่วนควบซึ่งกันและกัน

วินิจฉัยในเรื่องเรือนสามหลังทำรั้งติดกัน มีนอกชานด้านหน้า เจ้าของบ้านอยู่ด้วยกันมาหลายสิบปี แม้ว่าจะปลูกระยะเวลาห่างกัน ก็เป็นส่วนควบ ลักษณะก็เป็นเรือนไทยหมู่อย่างที่ได้อธิบายตอนต้น

องค์ประกอบของส่วนควบประการที่สองคือ ไม่อาจแยกกันได้ นอกจากทำลาย ทำให้บุบสลาย หรือทำให้ทรัพย์นั้นเปลี่ยนสภาพไป เช่นรถยนต์ มีตัวถัง เป็นประธาน แล้วนำเครื่องยนต์และ ล้อมาใส่ ก็จะเห็น ว่าถ้าไม่มีส่วนดังกล่าวก็ไม่ใช่สภาพเป็นรถยนต์ในตัวมันเอง แต่ในส่วนของน้ำมัน นั้นเป็นสาระสำคัญที่ทำให้รถมันเคลื่อนที่ไปได้ ถือได้ว่าน้ำมันเป็นสาระสำคัญในการเป็นอยู่แห่งรถยนต์ แต่สามารถแยกกันได้ไม่ทำให้เสียหาย บุบสลายเปลี่ยนแปลงสภาพ สภาพของรถยนต์ก็ตามเดิม ตัวน้ำมันเอง ก็ไม่เปลี่ยนไปโดยไม่ปกติ ก็เป็นปกติของ ของเหลว ดังนั้นน้ำมันไม่เป็นส่วนควบ เพราะไม่ครบองค์ประการที่สอง
ในทางตรงกันข้ามก็มีทรัพย์ที่ไม่เข้าองค์ประกอบข้อที่หนึ่งแต่เข้าองค์ประกอบข้อที่สองก็ถือว่าไม่เป็นส่วนควบเช่นกัน
เราต้องการแบ่งออกเป็นสามห้องอย่างถาวร การรื้อก็ต้องเสียหายแน่นอน แต่ว่าการที่จะมีฝากั้นห้องหรือไม่ไม่เป็นสาระสำคัญ เพราะฉะนั้นก็ไม่ถือว่าโดยสภาพหรือจารีตประเพณีต้องมี

คำพิพากษาฎีกาที่ 372/2500
ฝากั้นห้องจะเป็นส่วนควบของอาคารที่จำเลยเช่าจากโจทก์มาทำโรงแรมหรือไม่ จะต้องพิจารณาถึงสภาพของทรัพย์อย่างหนึ่งหรือตามจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นอีกอย่างหนึ่งว่าฝาที่กั้นเป็นห้องนั้นเป็นสาระสำคัญในความเป็นอยู่ของอาคารที่จำเลยเช่าจากโจทก์หรือไม่ หากตามสภาพของฝาที่กั้นเป็นห้องเป็นทรัพย์ที่อาจแยกออกจากตัวอาคารได้โดยมิได้เป็นการทำลายอาคารหรือทำให้อาคารบุบสลายหรือเปลี่ยนแปลงรูปทรงแต่อย่างใด ฝากั้นเป็นห้องหาเป็นสาระสำคัญของอาคารไม่ และโจทก์มิได้นำสืบถึงจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นฝากั้นห้องนั้นก็ไม่ถือเป็นส่วนควบของอาคาร

สำหรับการที่ทรัพย์หลายสิ่งจะรวมกันเป็นส่วนควบนั้น จะเป็นไปโดยการกระทำของมนุษย์หรือเป็นของ ธรรมชาติก็สามารถทำได้

คำพิพากษาฎีกาที่ 712-13/2475
ผู้ถือประทานบัตร์มีสิทธิที่จะขุดฉะเพาะในเขตต์ประทานบัตร์ แร่ไหลไปในที่ว่างเปล่าเป็นของหลวง ป.พ.พ.ม.107-1308 ส่วนควบที่งอก แร่ไหลเข้ามาในเขตต์ประทานบัตร์เป็นเวลาหลายปีตามธรรมชาติกลายเป็นส่วนหนึ่งของพื้นดิน เจ้าของแร่หมดกรรมสิทธิ์

คำพิพากษาฎีกาที่ 378/2522
สัญญาเช่ามีว่าทรัพย์ใด ๆ ที่ผู้เช่าดัดแปลงต่อเติมลงในที่เช่า ตกเป็นของผู้ให้เช่าทันที ข้อสัญญานี้ผูกพันผู้เช่าช่วงด้วย ทรัพย์ที่ต่อเติมนี้หมายความถึงการกระทำที่มาเป็นส่วนควบ เครื่องปรับอากาศที่ติดเข้ากับอาคารที่เช่า ไม่เป็นสารสำคัญในความเป็นอยู่ของอาคาร อันไม่อาจแยกออกได้ นอกจากทำให้อาคารเสียรูปทรง ไม่เป็นส่วนควบ ไม่ตกเป็นของผู้ให้เช่า

เป็นเรื่องของการนำเครื่องปรับอากาศมาติดกับอาคารที่เช่า แต่สมัยนั้นยังไม่เป็นสาระสำคัญโดยสภาพหรือโดยจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นแต่ถ้าเราดูขณะนี้แนวบรรทัดฐานก็น่าสงสัยอยู่ว่าจะเป็นเช่นนั้นหรือไม่ เพราะปัจจุบันตึกก็แทบทุกตึกต้องติดเครื่องปรับอากาศหมดแล้ว

สิ่งที่ต้องระวังอย่างมากในการดูฏีกา คือ เรื่องจารีตประเพณีแห่งท้องถิ้นนั้น สามารถเปลี่ยนไปได้ตามยุคตามสมัย

ในฃ่วงเวลาหนึ่งศาลได้วินิจฉัย ว่าพวกสุขภัณฑ์พวกนี้ไม่เป็นส่วนควบ
คำพิพากษาฎีกาที่ 1547/2494
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเช่าโรงเรือนของโจทก์ แล้วจำเลยทำละเมิดต่อโจทก์ โดยดัดแปลงแก้ไข รื้อขนสัมภาระจากโรงเรือนของโจทก์ทำให้โจทก์เสียหายจึงขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย ดังนี้ เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องจำเลยตามมูลละเมิด เมื่อฟังไม่ได้ว่า เป็นละเมิดแล้วในข้อที่จำเลยจะต้องรับผิดฐานไม่ปฏิบัติตามสัญญาเช่าหรือไม่นั้น ไม่มีประเด็นจะวินิจฉัยเพราะเป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องว่ากล่าวตามมูลสัญญาเช่า
แม้ในสัญญาเช่าจะใช้คำว่าการดัดแปลงหรือต่อเติมใดๆที่ผู้เช่าได้ทำขึ้นต้องตกเป็นของผู้ให้เช่าก็ดี ก็ย่อมต้องหมายความถึงการกระทำที่มาเป็นส่วนควบของทรัพย์ประธาน สัญญาเช่าที่มีข้อความดังที่ปรากฏนี้ หาอาจทำให้อสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นที่ตกเข้ามาอยู่ในที่เช่าเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของอสังหาริมทรัพย์นั้นได้ไม่

เห็นว่าถ้าข้อเท็จจริงอย่างเดียวกันเกิดขึ้นในปัจจุบันน่าจะเปลี่ยนแปลงไปเพราะว่าสภาพของโรงเรือนเหล่านี้ ในปัจจุบันก็ต้องเปิดไฟสว่างแม้ในเวลากลางวัน เครื่องเสียงใช้ไม่ได้แสงสว่างไม่พอ หรือในเรื่องของห้องน้ำเครื่องสุขภันท์ ก็ต้องมีสำหรับอาคารขนาดใหญ่เช่นนี้
เพราะฉะนั้นขณะนี้ก็น่าจะเป็นสิ่งที่จำเป็นแล้วเพราะว่าประเพณีนั้นก็อาจเปลี่ยนแปลงได้ ถ้าเกิดปัญหาในขณะนี้น่าจะเป็นไปได้สูงว่า เครื่องสุขภัณท์ก็ดีสายไฟฟ้าก็ดีน่าจะเป็นส่วนควบ

มาตรา 145 ไม้ยืนต้นเป็นส่วนควบกับที่ดินที่ไม้นั้นขึ้นอยู่ไม้ล้มลุกหรือธัญชาติอันจะเก็บเกี่ยวรวงผลได้คราวหนึ่งหรือหลายคราวต่อปีไม่เป็นส่วนควบกับที่ดิน

ก็ต้องดูจากพันธุ์ของไม้เป็นสำคัญ

คำพิพากษาฎีกาที่ 6303/2539
โจทก์และจำเลยโต้เถียงการครอบครองที่พิพาทอยู่การที่จำเลยเข้าไปปักเสาสร้างรั้วในที่พิพาทจึงเป็นการเข้าใจโดยสุจริตว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยการกระทำของจำเลยจึงไม่มีความผิดฐานบุกรุก ต้นไผ่ที่จำเลยเข้าไปตัดฟันปลูกอยู่ในที่พิพาทแม้โจทก์เป็นผู้ปลูกแต่ต้นไผ่เป็นไม้ยืนต้นจึงเป็นส่วนควบของที่พิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 145 วรรคหนึ่งและตกเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของที่พิพาทซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์ประธานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 144ว รรคสองเมื่อโจทก์และจำเลยยังโต้เถียงสิทธิครอบครองในที่พิพาทกันอยู่เท่ากับว่าโจทก์และจำเลยยังโต้เถียงกรรมสิทธิ์ของต้นไผ่ซึ่งปลูกอยู่ในที่พิพาทการที่จำเลยเข้าไปตัดฟันต้นไผ่พฤติการณ์จึงมีเหตุอันสมควรให้จำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่าต้นไผ่ดังกล่าวเป็นของจำเลยการกระทำของจำเลยจึงไม่มีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์

คำพิพากษาฎีกาที่ 4803/2549 ในเรื่องต้นฝรั่งเป็นไม้ยืนต้น

คำพิพากษาฎีกาที่ 14/2514
ในวันนัดสืบพยานประเด็นโจทก์ ทนายจำเลยขอเลื่อน แต่ศาลที่รับประเด็นไม่อนุญาตและดำเนินการสืบพยานไปโดยทนายจำเลยไม่ได้คัดค้าน ดังนี้ แม้จะถือว่าศาลที่รับประเด็นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความแห่งว่าด้วยการพิจารณา แต่การที่ศาลฏีกาจะมีคำสั่งให้มีการพิจารณาใหม่ทั้งหมดหรือบางส่วนหรือไม่นั้น ก็เป็นดุจพินิจของศาลฏีกา โดยคำนึงถึงเหตุอันสมควรเป็นเรื่องๆ ไป

วินิจฉัยว่าต้นกล้วยเป็นไม่ล้มลุก
คำพิพากษาฎีกาที่ 4089/2532
สับปะรด เป็นพืชถาวรจำพวกใบเลี้ยงเดี่ยว ที่มีอายุหลายปี ลำต้นสับปะรด ไม่มีเนื้อไม้ให้เห็นเด่นชัด สับปะรด จึงไม่ใช่ไม้ยืนต้น นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้บังคับบัญชาสูงสุดของจำเลยที่ 1ได้แต่งตั้งคณะกรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามมติคณะรัฐมนตรีเพื่อสร้างท่าเรือน้ำลึกตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชาและตำบลบางละมุง อำเภอบางละมุง จังหวัด ชลบุรี พ.ศ. 2521 คณะกรรมการเวนคืนดังกล่าวย่อมมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการให้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยเจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนให้ตกลงกันในเรื่องจำนวนค่าทดแทนตามมาตรา 1822 2526 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะพิพาท เมื่อคณะกรรมการเวนคืนได้รับการแต่งตั้งโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว คณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการเวนคืนแต่งตั้งย่อมเป็นตัวแทนของคณะกรรมการเวนคืนดังนั้นการกระทำของคณะอนุกรรมการดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายและข้อตกลงที่คณะอนุกรรมการได้กระทำไว้กับโจทก์จึงเป็นการกระทำแทนคณะกรรมการเวนคืนและเมื่อคณะกรรมการเวนคืนก็ได้เห็นชอบตามข้อตกลงดังกล่าว จึงย่อมมีผลใช้บังคับ.

วินิฉัยว่าต้นสับปะรดไม่ใช่ไม้ยืนต้น ศาลให้เหตุผลว่าสับปะรดไม่มีเนื้อไม้เด่นชัด ก็ไม่ใช่ไม้ยืนต้น
สรุปต้องมีสององค์ประกอบจึงจะเข้าเป็นส่วนควบ ก็มีข้อยกเว้นบางประการที่แม้เข้าในสองข้อก็ตามแต่ก็ไม่ถือเป็นส่วนควบ อยู่ในมาตรา 145 วรรค 2 และมาตรา 146

ไม้ล้มลุกหรือธัญชาติอันจะเก็บเกี่ยวรวงผลได้คราวหนึ่งหรือหลายคราวต่อปีไม่เป็นส่วนควบกับที่ดิน

มาตรา 146 ทรัพย์ซึ่งติดกับที่ดินหรือติดกับโรงเรือนเพียงชั่วคราว ไม่ถือว่าเป็นส่วนควบกับที่ดินหรือโรงเรือนนั้น ความข้อนี้ให้ใช้บังคับแก่โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ซึ่งผู้มีสิทธิในที่ดินของผู้อื่นใช้สิทธินั้นปลูกสร้างไว้ในที่ดินนั้นด้วย

สรุปข้อยกเว้นได้สามประการ คือ
1.ไม้ล้มลุกหรือธัญชาติอันจะเก็บเกี่ยวรวงผลได้คราวหนึ่งหรือหลายคราวต่อปี
2.ทรัพย์ซึ่งติดกับที่ดินหรือติดกับโรงเรือนเพียงชั่วคราว
3.โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ซึ่งผู้มีสิทธิในที่ดินของผู้อื่นใช้สิทธินั้นปลูกสร้างไว้ในที่ดินนั้นด้วย

ไม้ล้มลุกต้องไม่เกินสามปี

คำพิพากษาฎีกาที่ 4089/2532 ที่วางในเรื่องสับปะรดมาดูประกอบ นอกจากนั้นอาจนำไปใช้กับต้นข้าว หรือ ธัญชาติอื่นๆ

ประการที่สอง เช่นเราจัดงานวันรพีอาจจะเพื่อจำหน่ายตำรา ราคาในราคาย่อมเยา
มีลักษณะเป็นการชั่วคราวจึงไม่เป็นส่วนควบ ตาม 146 ตอนแรก
คำพิพากษาฎีกาที่ 1516-17 /2512
วินิจฉัยว่าผู้อาศัยในโรงเรือน ซ่อมแซมเพิ่มเติม ข้อเท็จจริงแค่นี้ไม่พอฟังว่าทำเป็นการชั่วคราว

แต่ถ้าทรัพย์ที่เป็นประธานนั้นไม่ใช่ตัวที่ดินหรือโรงเรือน ก็จะไม่เข้าข้อยกเว้นนี้ต้องไปใช่หลักทั่วไปคือกลายเป็นส่วนควบนั้นเอง

โรงเรือนก็ไม่จำเป็นต้องเป็นการก่อสร้างด้วยวัสดุอะไรเป็นการเจาะจง

การเข้าไปปลูกโรงเรือนในที่ดินของคนอื่นโดยไม่มีสิทธิแม้เจตนาเป็นการชั่วคราว

ข้อยกเว้นประการที่สามคือโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ซึ่งผู้มีสิทธิในที่ดินของผู้อื่นใช้สิทธิในการปลูกสร้างนั้น โรงเรือนเราพุดไปแล้วว่าหมายถึงอาคารที่อยู่อาศัยของคน ข้อสำคัญคือการก่อสร้างนั้นต้องเป็นการสร้างในที่ดินของผู้อื่น จึงจะเป็นสิ่งปลูกสร้างได้ จึงไม่เป็นส่วนควบ แต่การปลูกสร้างในที่ดินของผู้อื่น โดยไม่มีสิทธิ ก็เป็นส่วนควบ

สิทธิก็เป็นได้โดยทางสัญญา ก็คือข้อตกลงทั่วๆไป เช่น ก มีที่ดินแปลงหนึ่ง ผม เดือดร้อนที่อยู่ก็ขออนุญาต ไปปลูกบ้านในที่ดินดังกล่าว มีคำเสนอคำสนองตรงกัน ก็มีสิทธิตามสัญยาที่จะไปปลูกบ้านในที่ดินนาย ก ก็เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 146 ตอนท้าย
สิทธิตามสัญญาเป็นบุคคลสิทธิในหลักการจะมีหลักฐานเป็นหนังสือหรือไม่ก็ได้ เว้นแต่บางกรณีเท่านั้นที่ต้องมีแบบหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือจึงจะอ้างสิทธิตามสัญยานั้นได้
เช่นการเช่าอสังฯ ที่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
แต่ถ้าเป็นสัญญาประเภทอื่นๆ เช่นข้อตกลงทั่วไปหรือสัญญาไม่มีชื่อนั้น ก็ไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือก็ได้
โดยการยินยอมนั้นอาจเป็นการให้การยินยอมโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายก็ได้ เรื่องเช่นนี้ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริง
เพราะอาจมีบางกรณีที่ไม่ยินยอม แต่ไม่อาจทักท้วงในขณะนั้น
ตัวอย่างฏีกา 1868/2492
เจ้าอาวาสปลูกสร้างเรือนพิพาทในที่ดินธรณีสงฆ์ของวัดโดยใช้เงินของผู้อื่นซึ่งมีศรัทธาถวายเพื่อเป็นที่พักเวลามาทำบุญนั้น เรือนนั้นตกเป็นกรรมสิทธิ์ของวัดเพราะเป็นส่วนควบของที่ดิน
สิทธิที่จะปลูกสร้างในที่ดินของผู้อื่นจะเกิดขึ้นได้โดยเจ้าของที่ดินได้ก่อให้เกิดขึ้นโดยนิติกรรม อันผู้มีสิทธิอาจฟ้องร้องบังคับเอาได้
เจ้าอาวาสมีหน้าที่บำรุงรักษาจัดการสมบัติของวัด จึงมีสิทธิมอบอำนาจให้ไวยาวัจกรฟ้องร้องคดีแทนวัดได้
ผลตามฏีกานี้มีผลว่าแม้เจ้าอาวาสทำก็ไม่มีสิทธิทำเพื่อประโยชน์ของตนเองได้
ข้อเท็จจริงอีกประการหนึ่งคือ เจ้าอาวาสไม่ได้เจตนาปลูกเพื่อให้ตนเองเป็นเจ้าของแต่แรก เป็นการปลูกเพื่อประโยชน์ของวัดล้วนๆ
คำพิพากษาฎีกาที่ 550/2477
โฮเต็ล โรงมหรศพแลครัวไฟ ถึงแม้ปลูกอยู่ในที่ซึ่งเช่าจากผู้อื่นก็นับว่าเป็นอสังหาริมทรัพย์ การวินิจฉัยว่าอะไรเป็นหรือไม่เป็นส่วนควบต้องวิเคราะห์ตามมาตรา 107-109 ซึ่งไม่เกี่ยวกับปัญหาว่าเป็นอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ ผู้ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ไม่มีบุริมสิทธิเหนืออสังหาริมทรัพย์ของผู้เช่า คงมีบุริมสิทธิเหนือสังหาริมทรัพย์เท่านั้น วิธีพิจารณาความแพ่ง ขัดทรัพย์
คำพิพากษาฎีกาที่ 370 – 371 / 1134/2514
ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากบ้านพิพาท เป็นคำฟ้องเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์เสนอคำฟ้องต่อศาลที่บ้านพิพาทตั้งอยู่ในเขตศาลได้
โ จทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทำหนังสือสัญญาเช่าซื้อบ้านเลขที่ 55/21 ซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินที่โจทก์เช่าจากวัดเขมาภิรตาราม ตำบลบางซ่อน อำเภอดุสิต จังหวัดพระนคร ค่าเช่าซื้อ 100,000 บาท ตามสำเนาสัญญาเช่าซื้อท้ายฟ้อง จำเลยผิดสัญญาในข้อที่ว่า เมื่อปลูกบ้านเสร็จพอที่จำเลยจะเข้าอยู่ได้ โจทก์จะต้องมอบบ้านให้จำเลยครอบครอง และจำเลยต้องชำระราคาให้แก่โจทก์อีก 10,000 บาท จำเลยไม่ชำระ ขอให้ขับไล่จำเลยและเรียกค่าเสียหาย เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์แล้ว ไม่เคลือบคลุม ไม่จำเป็นต้องบรรยายว่าโจทก์สร้างเสร็จครบถ้วนและถูกต้องตามสัญญาทุกประการ หรือมีรายละเอียดเกี่ยวกับขนาดวัสดุ คุณภาพวัสดุก่อสร้างแบบแปลนแผนผังท้ายสัญญาอีกด้วย
เมื่อโจทก์ส่งมอบบ้านพิพาทให้จำเลยเข้าครอบครองอันเป็นการปฏิบัติตามสัญญาเช่าซื้อแล้ว แม้บ้านพิพาทยังไม่เสร็จเรียบร้อยดีจำเลยพอใจรับมอบบ้านพิพาทจากโจทก์ จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องใช้เงินจำนวน 10,000 บาทให้โจทก์ตามสัญญาเช่าซื้อ
โจทก์มิได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น สำหรับประเด็นเรื่องค่าเสียหายโจทก์จึงฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในประเด็นข้อนี้ไม่ได้ ที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาเรื่องค่าเสียหายของโจทก์ไว้ ไม่เป็นฎีกาที่ต้องพิจารณา

คำพิพากษาฎีกาที่ 628/2521
คำพิพากษาฎีกาที่ 116/2513
วินิจฉัยว่าโจทก์ก่อสร้างตึกเต็มที่ดินโจทก์แล้วทำทางเท้าล้ำไปในที่ดินและจำเลยยินยอมเมื่อไม่ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนไม่บริบูรณ์ แล้วต่อไปนั้น จำเลยไม่ยอมให้ใช้ในที่ดินดังกล่าว โจทก์ก็มีสิทธินำทางเท้าออกไปได้
จะเห็นว่าจากฏีกานี้แบ่งได้สองเรื่อง คือ จำเลยยอมให้สร้าง อันนี้ก็เป็นสัญญาไม่มีกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ จะยกเลิกเมื่อไหร่ก็ได้โดยการบอกกล่าวตามสมควร

ประเด็นที่สอง คือทางเท้านั้น ไม่เป็นส่วนควบตามมาตรา 146 ตอนท้ายเป็นข้อยกเว้นประการที่สาม
ข้อสังเกตประการที่สอง คือ ฏีกานี้ยังได้กล่าวในเรื่องทรัพย์สิทธิที่ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนมิฉะนั้นไม่บริบูรณ์กล่าวคือสิทธิที่ได้รับอนุญาตนั้น เป็นสิทธิเหนือพื้นดิน ไม่บริบูรณ์ ตามมาตรา 1299 วรรค 1

ข้อยกเว้นประการที่สาม ของการไม่เป็นส่วนควบ คือ สิทธิในที่ดินของผู้อื่นในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิทธินี้ ส่วนใหญ่เป็นเรื่องสิทธิเหนือพื้นดิน ในลักษณะ มาตรา 1410 เป็นหลัก

อย่างไรก็ตาม 1349 เรื่องทางจำเป็น ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อมีที่ดินอื่นล้อมรอบ ไม่จำกัดเป็นทางเดินเท่านั้น อาจเป็นถนนก็ได้ มาตรา 1352 เป็นเรื่องเดินสายไฟฟ้า

1338 เป็นเรื่องสิทธิตามกฎหมาย ไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนส่วนใหญ่ก็มักเป็นเรื่องสร้างโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างในที่ดินของผู้อื่น

1410 เจ้าของที่ดินอาจก่อให้สิทธิเหนือที่ดิน เป็นต้นว่าก่อสร้างสิ่งปลุกสร้างหรือเพราะปลูกในที่ดินของคนอื่น กรณีนี้สร้างบนดิน ใต้ดินอาจจะเก็บถึงน้ำใต้ดิน ถ้าเรามีสิทธิทำนั้นก็เข้ามาตรา 146 ตอนท้าย

แต่ข้อสำคัญนั้น คือ ถ้าได้มาโดยนิติกรรมต้องระวังในเรื่องขอบเขตของนิติกรรม รวมถึงการที่เราจะเข้าไปปลูกสร้างสิ่งนั้น เราก็มีสิทธิ ตามสัญญานั้นๆ

ซึ่งกรณีที่เข้า 146 ตอนท้ายนั้นต้องเป็นการเช่าโดยมีสิทธิในการสร้างสิ่งนั้นๆด้วย เช่นการเช่าบ้านเพื่ออยู่อาศัยไม่น่ารวมถึงโรงรถ และถนน ในการรักษารถยนต์ ก็ไม่น่ามีสิทธิ จึงไม่เข้าข้อยกเว้น

คำพิพากษาฎีกาที่ 723/2490
ผู้เช่าได้ก่อสร้างสิ่งใดๆ ลงในที่ที่เช่า ซึ่งถือได้ว่าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับที่ดิน กฎหมายถือว่าเป็นส่วนควบของที่ดิน ผู้เป็นเจ้าของที่ย่อมได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 107 ถ้าผู้เช่ารื้อถอนก็ต้องรับผิดฐานละเมิด

คำพิพากษาฎีกาที่ 2882/2536
การที่ผู้ร้องและจำเลยซึ่งเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ทำสัญญาเพื่อให้มีผลเป็นการโอนสิทธิในที่ดินโดยการส่งมอบการครอบครองให้แก่กันภายในกำหนดเวลาห้ามโอนนั้นแม้จะเรียกว่าสัญญาจะซื้อจะขายและระบุในสัญญาว่าจะมีการโอนทางทะเบียนเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาห้ามโอนแล้วก็ตาม การทำสัญญาเช่นนี้เป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายสัญญาจึงเป็นโมฆะ จำเลยจึงยังคงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินดังกล่าว ส่วนบ้านและอาคารซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ร้องปลูกสร้างในที่ดินของจำเลยโดยผู้ร้องมิใช่ผู้มีสิทธิในที่ดินย่อมเป็นส่วนควบของที่ดินและตกเป็นของจำเลย โจทก์ย่อมสามารถนำยึดที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวออกขายทอดตลาดได้

คำพิพากษาฎีกาที่ 339/2542
โจทก์และจำเลยทั้งเก้าต่างเป็นกรรมการสุขาภิบาลด้วยกัน แต่เดิมเมื่อปี 2536 สุขาภิบาลว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัดห.ให้ขุดลอกอ่างเก็บน้ำในเขตสุขาภิบาล ตกลงค่าจ้างเป็นเงิน100,000 บาท แต่ยังไม่มีการจ่ายเงินจำนวนดังกล่าวเพราะมีเงื่อนไขว่า ในปีต่อไปหากห้างหุ้นส่วนจำกัดห.ประมูลงานจากสุขาภิบาลได้ ห้างหุ้นส่วนจำกัดห. ก็จะไม่รับเงินจำนวน 100,000 บาท ตามที่ตกลงจ้าง ต่อมาปี 2537 ห้างหุ้นส่วนจำกัดว. ซึ่งมีโจทก์เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการได้รับการว่าจ้างในกรณีพิเศษ จากนายอำเภอประธานคณะกรรมการสุขาภิบาล ให้ก่อสร้าง ถนน ห้างหุ้นส่วนจำกัดห. จึงไม่ได้รับงานทางคณะกรรมการสุขาภิบาลจะต้องจ่ายเงิน 100,000 บาทให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัดห. การที่จำเลยทั้งเก้าเรียกร้องให้โจทก์จ่ายเงิน 100,000 บาท แก่ตน มิฉะนั้นโจทก์จะถูกร้องเรียนกล่าวหาต่อผู้ว่าราชการจังหวัดในเรื่องโจทก์ก่อสร้างถนนผิดไปจากสัญญา อันเป็นเหตุให้สัญญา ดังกล่าวระงับ และโจทก์ต้องถูกขับออกจากกรรมการสุขาภิบาลเมื่อปรากฏว่าโจทก์ต้องจ่ายเงินจำนวน 100,000 บาทให้จำเลยทั้งเก้าไปโดยกลัวต่อการข่มขู่ของจำเลยทั้งเก้าย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งเก้าใช้สิทธิโดยชอบ เพราะแม้ว่าโจทก์จะมีส่วนบกพร่องในการก่อสร้างถนนอันผิดไปจากสัญญาก็เป็นเรื่องของผู้มีอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ว่ากล่าวส่วนจำเลยทั้งเก้าเป็นบุคคลภายนอกย่อมไม่มีสิทธิสอดเข้าเกี่ยวข้องโดยหวังผลประโยชน์เป็นที่ตั้งการที่โจทก์ต้องจ่ายเงินให้จำเลยทั้งเก้าโดยกลัวต่อการ ข่มขู่ดังกล่าว การกระทำของจำเลยทั้งเก้าจึงเป็น การข่มขืนใจโจทก์ให้ยอมให้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน โดยขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อชื่อเสียงของโจทก์ซึ่งครบถ้วน ตามองค์ประกอบความผิดฐานกรรโชกแล้ว

คำพิพากษาฎีกาที่ 239/2485
ผู้ใดอ้างว่าเรือนซึ่งปลูกอยู่ไม่ใช่ของเจ้าของที่ดินผู้นั้นมีหน้าที่นำสืบ

ตัวบทอาญา (เท่าที่จำเป็น)

มาตรา ๑๔๓ ผู้ใดเรียก รับหรือยอมจะรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่น เป็นการตอบแทนในการที่จะจูงใจหรือได้จูงใจเจ้าพนักงาน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ สมาชิกสภาจังหวัดหรือสมาชิกสภาเทศบาล โดยวิธีอันทุจริตหรือผิดกฎหมายหรือโดยอิทธิพลของตนให้กระทำการ หรือไม่กระทำการในหน้าที่อันเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่บุคคลใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๑๔๔ ผู้ใดให้ ขอให้หรือรับว่าจะให้ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดแก่เจ้าพนักงาน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ สมาชิกสภาจังหวัดหรือสมาชิกสภาเทศบาล เพื่อจูงใจให้กระทำการ ไม่กระทำการ หรือประวิงการกระทำอันมิชอบด้วยหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๑๔๕ ผู้ใดแสดงตนเป็นเจ้าพนักงาน และกระทำการเป็นเจ้าพนักงาน โดยตนเองมิได้เป็นเจ้าพนักงานที่มีอำนาจกระทำการนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
เจ้าพนักงานผู้ใดได้รับคำสั่งมิให้ปฏิบัติการตามตำแหน่งหน้าที่ต่อไปแล้ว ยังฝ่าฝืนกระทำการใดๆ ในตำแหน่งหน้าที่นั้น ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในวรรคแรกดุจกัน

มาตรา ๑๔๗ ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการหรือรักษาทรัพย์ใด เบียดบังทรัพย์นั้นเป็นของตน หรือเป็นของผู้อื่นโดยทุจริต หรือโดยทุจริตยอมให้ผู้อื่นเอาทรัพย์นั้นเสีย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่สองพัน บาทถึงสี่หมื่นบาท


มาตรา ๑๔๘ ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ ข่มขืนใจหรือจูงใจเพื่อให้บุคคลใดมอบให้หรือหามาให้ซึ่งทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่ตนเองหรือผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสี่หมื่นบาท หรือประหารชีวิต


มาตรา ๑๔๙ ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ สมาชิกสภาจังหวัด หรือสมาชิกสภาเทศบาล เรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ เพื่อกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดในตำแหน่งไม่ว่าการนั้นจะชอบหรือมิชอบด้วยหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสี่หมื่นบาท หรือประหารชีวิต

มาตรา ๑๕๗ ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ข้อสอบเก่าอาญา สมัย 57

ข้อ 1. นายต้นถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีอาญา นายต้นกลัวว่า ศาลจะพิพากษาลงโทษจำคุก จึงไปปรึกษานายส่งซึ่งเป็นลูกจ้างชั่วคราว ทำหน้าที่เก็บสำนวนคดีอยู่ที่ศาลนั้นซึ่งรู้จักกันมาก่อน นายส่งได้พูดว่ารู้จักผู้พิพากษาในคดีที่นายต้นถูกฟ้อง เคยเสนอสำนวนให้ท่านพิจารณา หากนายต้นให้เงินตน 100,000 บาท ก็จะขอให้ศาลพิพากษารอการลงโทษแก่นายต้น แต่นายส่งมิได้ระบุชื่อผู้พิพากษา นายต้นจึงมอบเงินจำนวน 100,000 บาท แก่นายส่ง ต่อมาศาลพิพากษาลงโทษจำคุกนายต้น นายต้นจึงทราบว่านายส่งมิได้วิ่งเต้นให้ตนเลย เพราะนายส่งไม่เคยรู้จักผู้พิพากษาเจ้าของสำนวน เหตุที่นายส่งแอบอ้างเพราะเข้าใจว่าคดีประเภทนี้ศาลมักจะรอการลงโทษอยู่แล้ว นายต้นจึงไปต่อว่านายส่งว่าทำให้ตนเสียหายต้องโทษจำคุกและขอเงินคืน นายส่งอ้างว่ามิได้กระทำความผิดแต่อย่างใดและไม่ยอมคืนเงิน 100,000 บาทให้ ให้วินิจฉัยว่า นายส่งจะมีความผิดฐานใดหรือไม่ และเงินจำนวน 100,000 บาท จะริบได้หรือไม่
ธงคำตอบ การที่นายส่งเรียกและรับเงินไปจากนายต้นเป็นเงินจำนวน 100,000 บาท เพื่อเป็นการตอบแทนโดยอ้างว่าจะนำไปใช้จูงใจเจ้าพนักงานในตำแหน่งผู้พิพากษาโดยวิธีการอันทุจริตให้กระทำการในหน้าที่พิพากษาคดีโดยรอการลงโทษแก่นายต้น ในคดีอาญาที่นายต้นถูกฟ้อง แม้จะมิได้ระบุชื่อผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาพิพากษาคดีของนายต้นและไม่ได้ไปจูงใจผู้พิพากษาในการกระทำการในหน้าที่ให้เป็นคุณแก่นายต้นก็ตาม การกระทำของนายส่งก็ครบองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 143 (เทียบคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7695/2543)ส่วนเงินจำนวน 100,000 บาท เป็นทรัพย์ที่ได้ให้ตามความในมาตรา 143 จึงต้องริบเสียทั้งสิ้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 34 (1)

ข้อ 2. นายชมต้องการฆ่านายชัย จึงส่งจดหมายไปถึงนายชิตมือปืนรับจ้างให้ฆ่านายชัย ต่อมานายชมเปลี่ยนใจไม่ต้องการฆ่านายชัยโดยเพียงต้องการทำร้ายเท่านั้น จึงส่งจดหมายอีกฉบับหนึ่งถึงนายชิตมีใจความว่า ขอยกเลิกข้อความในจดหมายฉบับแรกทั้งหมดและให้นายชิตไปคอยดักทำร้ายนายชัย ปรากฏว่าจดหมายฉบับแรกหายกลางทางไปไม่ถึงมือนายชิต แต่นายชิตได้รับจดหมายฉบับที่สอง โดยไม่รู้เรื่องในจดหมายฉบับแรกเลย และได้ไปคอยดักทำร้ายนายชัยตามที่นายชมว่าจ้าง เมื่อนายชัยเดินทางมาถึง นายชิตซึ่งแอบอยู่ก็ตรงเข้าใช้ไม้ตีทำร้ายนายชัย เป็นเหตุให้นายชัยล้มลงศีรษะฟาดพื้นถึงแก่ความตายให้วินิจฉัยว่า นายชิตและนายชมมีความผิดฐานใดหรือไม่
ธงคำตอบนายชมไม่ต้องรับผิดฐานเป็นผู้ใช้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 84 ในความผิดฐานฆ่านายชัยเพราะเมื่อจดหมายฉบับแรกหายกลางทางและนายชิตไม่รู้ข้อความใด ๆ ในจดหมายฉบับแรกเลย จึงยังไม่มีการใช้ให้ไปฆ่า นายชมจึงไม่ต้องรับโทษหนึ่งในสามของโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 (4) แต่อย่างใดนายชิตไปดักทำร้ายนายชัยตามที่รับจ้างมา เป็นการทำร้ายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน เมื่อนายชัยถึงแก่ความตายอันเป็นผลโดยตรงจากการทำร้าย นายชิตจึงมีความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 วรรคสองนายชมมีความผิดเช่นเดียวกับนายชิตโดยเป็นผู้ใช้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 84 แม้นายชัยจะถึงแก่ความตายแต่ก็เป็นการกระทำภายในขอบเขตของการใช้ ซึ่งผู้ใช้ต้องรับผิดในผลที่เกิดขึ้นนั้นด้วยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 87

ข้อ 3. นายอ้วนกับนายผอมเคยมีเรื่องทะเลาะวิวาทกันมาก่อน วันเกิดเหตุนายอ้วนไปท้าทายนายผอมโดยพูดว่า "มึงออกมาต่อยกับกูตัวต่อตัว ถ้าแน่จริง" นายผอมเดินออกจากบ้านไปพบนายอ้วนโดยพกอาวุธปืนสั้นไปด้วย นายอ้วนชักมีดออกมาเพื่อจ้วงแทงนายผอม จึงถูกนายผอมใช้อาวุธปืนดังกล่าวยิงในระยะ 2 เมตร ถูกนายอ้วนที่หน้าอกจำนวน3 นัด นายอ้วนได้รับอันตรายสาหัสให้วินิจฉัยว่า นายผอมมีความผิดฐานใดหรือไม่ และนายผอมจะอ้างเหตุว่าเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายหรือกระทำโดยบันดาลโทสะได้หรือไม่
ธงคำตอบนายผอมใช้อาวุธปืนยิงในระยะ 2 เมตร ถูกนายอ้วนที่หน้าอก 3 นัด ถือว่ามีเจตนาฆ่านายอ้วน แต่นายอ้วนไม่ถึงแก่ความตาย นายผอมจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80การที่นายอ้วนไปพูดท้าทายและนายผอมออกไปพบนายอ้วนโดยพกอาวุธปืนสั้นไปด้วย แสดงว่านายผอมสมัครใจเข้าวิวาทและต่อสู้กับนายอ้วน เป็นการเข้าสู่ภัยโดยไม่มีกฎหมายให้อำนาจ แม้นายอ้วนชักมีดเพื่อจ้วงแทงก็เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในการทะเลาะวิวาทกัน นายผอมไม่มีสิทธิใช้อาวุธปืนยิงนายอ้วน โดยอ้างเหตุว่าเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68การที่นายอ้วนพูดท้าทายให้นายผอมออกไปชกต่อยกันตัวต่อตัว ยังมิใช่เป็นการข่มเหงนายผอมอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมต่อนายผอม และแม้นายอ้วนชักมีดเพื่อจ้วงแทงก็เนื่องมาจากการที่นายผอมสมัครใจเข้าวิวาทต่อสู้กับนายอ้วน จึงไม่อาจอ้างว่าเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 72 (เทียบคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3089/2541 และ 4686/2545)

ข้อ 4. นายดำเป็นลูกจ้างมีหน้าที่รับและจ่ายเงินของห้างหุ้นส่วนจำกัดแดงก่อสร้าง ซึ่งมีนายแดงเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ นายเขียวลูกหนี้ของห้างฯ สั่งจ่ายเช็คของธนาคารแห่งหนึ่งให้แก่ห้างฯ เพื่อชำระหนี้ โดยนำเช็คไปมอบให้นายดำ นายดำเห็นว่านายแดงไม่อยู่ที่ห้างฯ จึงลงลายมือชื่อของนายดำด้านหลังเช็คแล้วนำตราของห้างฯประทับกำกับลายมือชื่อของนายดำ เพื่อให้พนักงานธนาคารหลงเชื่อว่าเป็นลายมือชื่อสลักหลังเช็คโดยผู้มีอำนาจกระทำการแทนห้างฯ และจะนำเช็คไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารในวันรุ่งขึ้น แต่ปรากฏว่านายดำป่วยจึงไม่ได้นำเช็คไปเรียกเก็บเงินตามที่ตั้งใจไว้ให้วินิจฉัยว่า นายดำมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาฐานใดหรือไม่
ธงคำตอบเช็คที่นายเขียวสั่งจ่ายเป็นเอกสารที่แท้จริง การที่นายดำลงลายมือชื่อและประทับตราของห้างฯด้านหลังเช็คเป็นการเติมข้อความลงในเช็คซึ่งเป็นเอกสารที่แท้จริงโดยไม่มีอำนาจ เมื่อได้กระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นคือธนาคาร และกระทำโดยมีเจตนาเพื่อลวงให้พนักงานธนาคารหลงเชื่อว่าเป็นการลงลายมือชื่อสลักหลังโดยผู้มีอำนาจกระทำการแทนห้างฯ แม้นายดำยังไม่ได้นำเช็คไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารก็เป็นความผิดสำเร็จแล้ว นายดำจึงมีความผิดฐานปลอมเอกสารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264เช็คเป็นเอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อสิทธิ จึงเป็นเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1 (9) นายดำจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265เช็คเป็นตั๋วเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 898 นายดำจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 266 (4) ด้วย (เทียบคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2022/2531, 769/2540, 4073/2545)

ข้อ 5. นายแสบไม่พอใจนายรวยเจ้าหนี้เงินกู้ของตน จึงแอบเข้าไปลักทรัพย์ของนายรวยบริเวณแพริมน้ำซึ่งนายรวยใช้เป็นที่อยู่อาศัย ได้แหวนเพชรมาหนึ่งวง ในขณะที่นายแสบจะลงจากแพได้เหลือบไปเห็นเงาคนกำลังแอบดูตนอยู่ นายแสบเชื่อว่าเป็นนายรวยและจำตนได้ เพราะตรงบริเวณนั้นมีแสงสว่างจากดวงไฟ แม้จะเป็นคืนข้างแรมก็ตาม เมื่อนายแสบกลับถึงบ้านแล้ว จึงทราบว่าเป็นแหวนของตนเอง ที่จำนำไว้แก่นายรวย นายแสบรู้สึกโกรธและเกรงว่าจะถูกนายรวยแจ้งความ นำเจ้าพนักงานตำรวจมาจับกุมตน จึงได้นำอาวุธปืนไปดักซุ่มยิงนายรวยจนถึงแก่ความตายให้วินิจฉัยว่า นายแสบมีความผิดฐานใดหรือไม่
ธงคำตอบการกระทำของนายแสบไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 เพราะแหวนเพชรเป็นของนายแสบเอง มิได้เป็นของผู้อื่นหรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย ทั้งข้อเท็จจริงปรากฏว่าขณะที่นายแสบเอาแหวนนั้นไป นายแสบไม่ทราบว่าทรัพย์ที่เอาไปนั้นเป็นทรัพย์อันตนได้จำนำไว้กับนายรวยเจ้าหนี้ ทั้งมิได้เอาแหวนไปโดยเจตนาเพื่อให้เจ้าหนี้ของตนได้รับความเสียหาย การกระทำของนายแสบจึงไม่เป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 349 แต่การที่นายแสบเข้าไปเคหสถานของนายรวยในเวลากลางคืน โดยไม่มีเหตุอันสมควรเป็นความผิดฐานบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 364 ประกอบกับมาตรา 365 (3) นายแสบใช้อาวุธปืนดักซุ่มยิงนายรวยในเวลาต่อมา โดยคิดทบทวนมาก่อนและเพื่อปกปิดการกระทำความผิดและเพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญาในความผิดอื่นที่ตนได้กระทำไว้ นายแสบมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา 289 (4)และ 289 (7) อีกด้วย

ข้อ 6. นายชายหลงรักนางสาวหญิง แต่นางสาวหญิงไม่สนใจ คืนวันหนึ่งนายชายเดินผ่านหน้าบ้านนางสาวหญิงเห็นนางสาวหญิงอยู่บ้านคนเดียวจึงเข้าไปหาเพื่อจะลวนลาม นางสาวหญิงตกใจร้องเรียกให้คนช่วย นายชายจึงขู่ไม่ให้ร้อง มิฉะนั้นจะฆ่าให้ตาย นางสาวหญิงกลัวจึงหยุดร้องแต่ในขณะนั้นเองสร้อยข้อมือที่นางสาวหญิงใส่อยู่ขาดตกลงบนพื้น นายชายเห็นสร้อยข้อมือของนางสาวหญิงตก จึงก้มลงหยิบแล้วหลบหนีไปให้วินิจฉัยว่า นายชายมีความผิดฐานใดหรือไม่
ธงคำตอบการที่นายชายเข้าไปในบ้านของนางสาวหญิงเพื่อจะลวนลามนั้นเป็นการเข้าไปในเคหสถานของนางสาวหญิงโดยไม่มีเหตุอันควร ส่วนการขู่มิให้ร้อง มิฉะนั้นจะฆ่าให้ตายถือเป็นการขู่ว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย การกระทำของนายชายจึงเป็นการกระทำผิดฐานบุกรุกเข้าไปในเคหสถานของผู้อื่นโดยขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายในเวลากลางคืน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 (1) (3) ประกอบมาตรา 364 (เทียบคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4066/2545) และการที่นายชายขู่ไม่ให้นางสาวหญิงร้องมิฉะนั้นจะฆ่าให้ตายนั้น ยังเป็นการขู่เข็ญให้นางสาวหญิงกลัวว่าจะเกิดอันตรายแก่ชีวิตจนนางสาวหญิงผู้ถูกข่มขืนใจจำยอมต้องหยุดร้องซึ่งเป็นความผิดต่อเสรีภาพตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309 วรรคแรก แต่เนื่องจากการขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายของนายชายดังกล่าว มิได้ประสงค์ต่อทรัพย์ คือสร้อยข้อมือของนางสาวหญิง นายชายเพิ่งมีเจตนาทุจริตเมื่อเห็นสร้อยข้อมือขาดตกลงบนพื้นอันเป็นเจตนาที่เกิดขึ้นภายหลัง การที่นายชายเอาสร้อยข้อมือของนางสาวหญิงไปจึงไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ แต่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ในเคหสถานในเวลากลางคืน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 (1) (8) วรรคสอง

ข้อ 7. ในเดือนเมษายน 2547 นายก้องซึ่งเป็นข้าราชการให้นายเกียรติเพื่อนของตนกู้ยืมเงินจำนวน 100,000 บาท โดยไม่คิดดอกเบี้ย นายเกียรติตกลงชำระหนี้คืนภายในเดือนสิงหาคม 2547 และมอบสร้อยคอทองคำหนัก 5 บาท พร้อมพระเครื่องเลี่ยมทององค์หนึ่ง ให้นายก้องยึดถือไว้เป็นประกัน เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระ นายเกียรติไม่มีเงินชำระหนี้ จึงยกสร้อยคอทองคำพร้อมพระเครื่องเลี่ยมทองดังกล่าวให้แก่นายก้องแทนการชำระหนี้ นายก้องชอบพระเครื่ององค์ดังกล่าว จึงตกลงรับไว้ ต่อมาวันที่ 1 ตุลาคม 2547 นายก่อเพื่อนอีกคนหนึ่งของนายก้องมาขอซื้อพระเครื่ององค์ดังกล่าว จากนายก้องในราคา 1,500,000 บาท นายก้องจึงขายพระเครื่ององค์ดังกล่าวให้นายก่อไป ให้วินิจฉัยว่า นายก้องจะต้องนำเงินที่ได้รับจากการขายพระเครื่ององค์ดังกล่าวไปรวมคำนวณกับเงินเดือนเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีภาษี 2547 หรือไม่ และจะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่
ธงคำตอบ นายก้องได้พระเครื่องเลี่ยมทองมาจากการที่นายเกียรติซึ่งเป็นเพื่อนนำมาชำระหนี้แทนเงิน จึงเป็นการได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร เมื่อขายพระเครื่ององค์ดังกล่าวไป เงินได้ที่ได้รับจึงเป็นเงินได้จากการขายสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ประจำปีภาษี 2547 ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42 (9) นายก้องมิได้มีอาชีพในการซื้อขายพระเครื่อง การที่นายก้องขายพระเครื่ององค์ดังกล่าวให้แก่นายก่อเพื่อนของตน จึงไม่ใช่เป็นการขายสินค้าในทางธุรกิจหรือวิชาชีพ นายก้องจึงไม่ใช่ผู้ประกอบการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77/1 (5) และมาตรา 77/2 (1) นายก้องจึงไม่ต้องนำเงินได้จากการขายพระเครื่ององค์ดังกล่าวไปเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

ข้อ 8. นายเรืองเป็นลูกจ้างของบริษัทรุ่งทรัพย์ จำกัด ทำงานตำแหน่งพนักงานบัญชี ณ สำนักงานใหญ่ ซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานคร มาได้ 4 ปี ได้รับค่าจ้างเดือนละ 15,000 บาท ต่อมาบริษัทรุ่งทรัพย์ จำกัด สั่งให้นายเรืองไปทำงานในตำแหน่งเดิม ณ สำนักงานสาขา จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเปิดทำการมากว่า 10 ปีแล้ว นายเรืองเห็นว่าต้องเดินทางไกลขึ้น จึงไม่ยอมไปทำงานที่สำนักงานสาขาตั้งแต่วันแรกที่รับคำสั่ง แต่ยังคงไปนั่งอยู่ที่ทำงานสำนักงานใหญ่ตลอดมา ต่อมาอีก 7 วัน บริษัทรุ่งทรัพย์ จำกัด จึงเลิกจ้างนายเรืองด้วยเหตุดังกล่าว ให้วินิจฉัยว่า คำสั่งของบริษัทรุ่งทรัพย์ จำกัด ที่ให้นายเรืองไปทำงานที่สำนักงานสาขา เป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมหรือไม่ และบริษัทรุ่งทรัพย์ จำกัด ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่นายเรืองหรือไม่
ธงคำตอบบริษัทรุ่งทรัพย์ จำกัด มีสำนักงาน 2 แห่ง การที่บริษัทรุ่งทรัพย์ จำกัด นายจ้างมีคำสั่งให้นายเรือง ลูกจ้างไปทำงานในตำแหน่งเดิมที่สำนักงานสาขา อันเป็นสถานประกอบกิจการอีกแห่งหนึ่งที่มีอยู่ก่อนแล้วโดยไม่ปรากฏว่าบริษัทรุ่งทรัพย์ จำกัด ได้ออกคำสั่งโดยกลั่นแกล้งนายเรือง คำสั่งที่ให้นายเรืองไปทำงานที่สำนักงานสาขาจึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม นายเรืองมีหน้าที่ต้องไปทำงานที่สำนักงานสาขาตามคำสั่งของบริษัทรุ่งทรัพย์ จำกัด เมื่อนายเรืองไม่ไปทำงานที่สำนักงานสาขา แม้จะยังไปนั่งอยู่ที่ทำงานสำนักงานใหญ่ก็ถือได้ว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร บริษัทรุ่งทรัพย์ จำกัด จึงเลิกจ้างนายเรืองได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 (5) (เทียบคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 39/2545)

ข้อ 9. นายเดช ผู้ต้องหาคดีค้ายาเสพติดที่คดีขาดอายุความแล้ว ทราบข่าวจากหนังสือพิมพ์ว่า จะมีการใช้กฎหมายฟอกเงินตรวจสอบทรัพย์สินของตนที่ได้มาตั้งแต่เมื่อ 20 ปีก่อน จึงไปยื่นคำร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาว่า พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 หมวด 6 ในส่วนที่ให้พนักงานอัยการมีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตามความผิดมูลฐานตกเป็นของแผ่นดิน แม้การกระทำนั้นเกิดขึ้นก่อนวันที่กฎหมายมีผลใช้บังคับก็ตาม ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 32 เพราะเป็นกฎหมายอาญาที่มีผลย้อนหลังในทางที่เป็นโทษต่อบุคคล บทบัญญัติดังกล่าวจึงมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ขอให้ส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 198 ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาพิจารณาแล้วเห็นว่า บทบัญญัติดังกล่าวเป็นมาตรการทางแพ่ง ไม่ได้มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 32 จึงวินิจฉัยไม่ส่งเรื่องดังกล่าวไปยังศาลรัฐธรรมนูญ นายเดชยื่นหนังสือโต้แย้งว่าผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาต้องส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาทุกกรณี ไม่มีอำนาจใช้ดุลพินิจยุติเรื่อง ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาจึงเสนอเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 266 ขอให้วินิจฉัยว่า ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภามีอำนาจใช้ดุลพินิจวินิจฉัยว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายไม่มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ และไม่ส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ ได้หรือไม่ให้วินิจฉัยว่า (ก) ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภามีอำนาจที่จะไม่ส่งเรื่องตามคำร้องครั้งแรกของนายเดชไปยังศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่ และ (ข) เมื่อนายเดชโต้แย้งและผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาได้เสนอเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 266 ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจรับคำร้องไว้พิจารณาหรือไม่ ธงคำตอบ(ก) ปัญหาว่า ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภามีอำนาจที่จะไม่ส่งเรื่องตามคำร้องครั้งแรกของนายเดชไปยังศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่นั้น รัฐธรรมนูญ มาตรา 198 วรรคหนึ่ง ให้อำนาจผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ ในกรณีที่ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาเห็นว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาจึงมีอำนาจกลั่นกรองหรือใช้ดุลพินิจพิจารณาก่อนว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่ ดังนั้น หากผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาพิจารณาในเบื้องต้นแล้วเห็นว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นไม่ได้มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ก็ย่อมมีอำนาจไม่ส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญได้ (เทียบคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 20/2546) (ข) ส่วนปัญหาว่า ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจรับคำร้องของผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาไว้พิจารณาหรือไม่นั้น ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาเป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นโดยรัฐธรรมนูญ มาตรา 196 และกำหนดอำนาจหน้าที่ไว้ในรัฐธรรมนูญ มาตรา 197 และมาตรา 198 จึงเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ เมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 266 ได้ กรณีตามปัญหา ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาพิจารณาวินิจฉัยไปแล้วว่า พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2546 หมวด 6 ไม่ได้มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ จึงไม่ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย และนายเดชโต้แย้งว่าผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาไม่มีอำนาจเช่นนั้น ถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา เมื่อผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภามีคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยกรณีดังกล่าว จึงเป็นกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ขององค์กรตามรัฐธรรมนูญและเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วจริง ศาลรัฐธรรมนูญจึงต้องรับคำร้องไว้พิจารณาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 266

ข้อ 10. นางเยาว์เป็นเจ้าหน้าที่การเงิน จัดทำเช็คสั่งจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลแก่นางวัยข้าราชการในสังกัด โดยที่นางวัยเคยขอเบิกและได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลจำนวนนี้ไปแล้ว แต่นางเยาว์จัดทำเช็คซ้ำโดยทุจริต นายยืนเป็นอธิบดีมีอำนาจลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเงินตามเช็ค ได้ปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเงินตามเช็คโดยไม่ตรวจสอบความถูกต้อง นางเยาว์นำเช็คไปเบิกเงินจากธนาคารกรุงสุโขทัย ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง พนักงานธนาคารปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อจ่ายเงินตามเช็คให้แก่นางเยาว์โดยไม่ตรวจบัตรประจำตัวประชาชน กระทรวงต้นสังกัดต้องการดำเนินคดีแก่นางเยาว์ นายยืน และธนาคารกรุงสุโขทัย ให้ชดใช้ค่าเสียหายให้วินิจฉัยว่า คดีนี้เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง
ธงคำตอบกระทรวงเป็นหน่วยงานทางปกครองตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 นางเยาว์กับนายยืนเป็นข้าราชการในสังกัดและเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ นางเยาว์ปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต จัดทำเช็คซ้ำและเบียดบังเอาเงินไป นายยืนปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงไม่ตรวจสอบความถูกต้องของเช็ค ทำให้กระทรวงได้รับความเสียหาย คดีสำหรับนางเยาว์และนายยืนเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่อันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายหรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามกฎหมายตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (3) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองแม้ธนาคารกรุงสุโขทัยจะเป็นหน่วยงานทางปกครองตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 แต่นิติสัมพันธ์ส่วนนี้เป็นการเบิกและถอนเงินตามเช็คอันเป็นความสัมพันธ์ทางแพ่งระหว่างธนาคารกับลูกค้า คดีสำหรับธนาคารไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (3) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว แต่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม (คำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ที่ 22/2546 และเทียบคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ที่ 20/2545)
Custom Search