วันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

กฎหมายอาญา มาตรา ๑๐๗-๒๐๕

ความผิดฐานดูหมิ่น
มาตรา ๑๓๖ ผู้ใดดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่หรือเพราะได้กระทำการตามหน้าที่

ดูหมิ่น หมายถึง การดูถูกเหยียดหยาม ทำให้อับอาย สบประมาท หรือด่า
-เป็นการลดคุณค่าของผู้ถูกดูหมิ่นลง
-อาจทำด้วยวาจา หรือกิริยาท่าทางก็ได้ เช่น เปลือยกายให้ของลับ
-ดูหมิ่นตามมาตรา ๑๓๖ ไม่จำเป็นต้องกล่าวต่อหน้าบุคคลที่ ๓
- ดูหมิ่นตามมาตรา ๑๙๓ ต้องเป็นการดูหมิ่นซึ่งหน้า หรือด้วยการโฆษณา
- ถ้ามีบุคคลที่ ๓ อยู่ด้วยอาจจะเป็นดูหมิ่นและหมิ่นประมาทได้
- ถ้อยคำที่กล่าว ถึงแม้จะเป็นหมิ่นประมาทอาจจะไม่เป็นดูหมิ่นก็ได้ เช่น
กล่าวในหนังสือพิมพ์ว่าปลัดอำเภอช่วยเหลือผู้กระทำผิดไม่ให้ต้องโทษ
- การกระทำที่ต้องอาศัยการหมิ่นประมาท ถ้าไม่ผิดฐานหมิ่นประมาท ก็ไม่ผิดฐานดูหมิ่นไปในตัว
-คำด่าเจ้าพนักงานเป็นการดูหมิ่นเจ้าพนักงาน เช่น
ตำรวจชาติหมา
ตำรวจเฮงซวยถือว่ามีอำนาจ กระทำไปตามอำนาจต้องเจอดีเสียบ้าง
แกล้งสอบสวนโดยไม่ยุติธรรม
ตำรวจกลัวแม่มันหยัง
แกล้งจับผมคนเดียวจราจรลำพูนไม่ยุติธรรม
ถอดเครื่องแบบมาชกกันตัวต่อตัว
ตำรวจไม่ยุติธรรม
ผู้กองอย่างมึงจะเอาอะไรกับกู
มึงนั่นแหละนั่งคุมหน้ารถมายังจะมาจับอีก
จับโดยไม่ยุติธรรม
คุณแกล้งจับผม
ไอ้จ่าถ้ามึงจับกู กูจะเอามึงออก
มันกินไข่เข้าไป เป็นการหมายถึงกินสินบน
การดูหมิ่นเจ้าพนักงานไม่จำเป็นต้องทำต่อหน้า
คำด่าโดยปกติเป็นคำไม่สุภาพ ไม่เป็นดูหมิ่น เช่น
แค่ร้อยโทกระจอกไม่อยากคุยด้วย เป็นคำไม่สุภาพ ไม่เป็นการดูหมิ่น
แน่จริงมาต่อยกันตัวต่อตัว ขอยิงกันคนละนัด
คุณเป็นนายอำเภอได้อย่างไร ไม่รับผิดชอบ
ไม่เชื่อว่าเป็นตำรวจไม่ยอมให้ค้น แล้วพูดว่า ไอ้สัตว์พวกนี้แม่มันไม่ใช่ตำรวจ ไม่ต้องให้มันค้น
พวกมึงตำรวจไม่มีความหมายสำหรับกู
โคตรแม่มึงเวลาลักขโมยควายไปสองสามวันตามหาไม่เจอ เวลามีสุราทำไมจับเร็วนัก พวกคุณมันสร้างปัญหา คุณไม่ต้องมามองหน้าผมหรอก คุณเป็นหัวหน้าส่วนกระจอก ๆ ผมไม่กลัวคุณหรอก ใหญ่กว่านี้ผมก็ไม่กลัว
-ต้องเป็นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่หรือเพราะได้กระทำการตามหน้าที่
-ผิด ๑๙๘ แล้ว ไม่ผิด ๑๓๖ อีก
ความผิดเกี่ยวกับการแจ้งความเท็จ
๑๓๗ บททั่วไป
๑๖๒ ทำเอกสารเท็จ
๑๗๒ ๑๗๓ ๑๗๔ แจ้งความผิดทางอาญา
๑๗๕ ๑๗๖ ฟ้องเท็จ
๑๗๗ เบิกความเท็จ
๑๗๘ แปลความเท็จ
๑๗๙ ทำพยานหลักฐานเท็จ
๑๘๐ สืบพยานหลักฐานเท็จ
๒๗๖ แจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความเท็จ
๓๖๗ บอกชื่อเท็จ
มาตรา ๑๓๗ ผู้ใดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย
-ผิดบทเฉพาะ ๑๗๒ ๑๗๓ แล้ว ไม่ผิดบททั่วไปคือ ๑๓๗ อีก
-ในทางตำราผิดได้ทั้ง ๒ บท
-ฟ้องเท็จไม่ใช่แจ้งความเท็จ
-เบิกความเท็จไม่ใช่แจ้งความเท็จ
-แจ้งความเท็จคือทำให้ทราบ เจ้าพนักงานต้องทราบ
-ให้การในฐานะผู้ต้องหาแม้เท็จก็ไม่ผิด ๑๓๗
-ให้การเป็นพยานต่อเจ้าพนักงานสอบสวน ถ้าเท็จ ผิด ๑๓๗
-บอกชื่อเท็จในฐานะผู้ต้องหาไม่ผิด ๑๓๗ แต่อาจผิด ๓๖๗ ได้
-แต่ถ้าตำรวจรู้จักชื่ออยู่แล้วยังแกล้งถามอีก ไม่ผิด ๓๖๗
-ถ้ายังไม่เป็นผู้ต้องหา ผิด ๑๓๗
๑. แจ้งข้อความอันเป็นเท็จ หมายถึง ข้อเท็จจริงในอดีตหรือปัจจุบันที่ไม่ตรงต่อความจริง
-ไม่ใช่คำสัญญาหรือคำรับรอง
ต้องอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย
-ผิด ๑๓๗ แล้วผิดตาม ๒๖๗ ได้ด้วย
-กรอกใบสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรว่าจบการศึกษามัธยมปลาย แต่ความจริงไม่ได้จบผิด ๑๓๗ และ ๒๖๗ กรรมเดียวผิดหลายบท
-แต่ถ้าไม่ผิด ๑๓๗ ก็ไม่ผิด ๒๖๗ หรือ ๒๖๘
ข้อความเท็จจะต้องเป็นข้อที่เป็นสาระสำคัญเรื่อง
๒. แจ้งเท็จแก่เจ้าพนักงาน
-เป็นพนักงานฝ่ายบริหารโดยตรง
-แสดงหลักฐานเท็จในการขอประกันตัวต่อศาล อาจเป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จได้
-เจ้าพนักงานต้องปฏิบัติตามหน้าที่ด้วย ถ้าไม่ปฎิบัติตามหน้าที่หรือกระทำนอกหน้าที่ไม่ผิด ใช้วาจานอกหน้าที่ ไม่จำเป็นต้องตอบ ถึงตอบก็ไม่ผิด
-การยื่นคำคู่ความต่อศาลยังไม่เป็นแจ้งความเท็จตาม ๑๓๗
๓. อาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย
-ถ้าไม่เกิดความเสียหายเลยไม่ผิด
-ถ้าผู้แจ้งเชื่อว่าเป็นความจริง แม้ข้อความจะไม่ตรงต่อความจริง เป็นสำคัญผิด ไม่ผิด ๑๓๗ ขาดองค์ประกอบ
-เข้าใจผิดว่าเป็นผู้ต้องหาไม่ผิด
-ถือความรู้สึกของผู้แจ้งเป็นสำคัญ แม้จะเป็นเหตุการณ์จริงแต่ถ้ามีเจตนาแจ้งเท็จก็ผิดได้ เช่น เบิกความว่าเห็นคนร้าย แต่ไม่เห็น แม้จะมีคนร้ายจริงก็ผิด
๑๖๒ ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ทำเอกสาร รับเอกสาร หรือกรอกข้อความลงในเอกสาร กระทำการต่อไปนี้ในการปฏิบัติตามหน้าที่
(๑) รับรองเอกเป็นหลักฐานว่าตนได้กระทำการอย่างใดขึ้น หรือว่าการอย่างใดได้กระทำต่อหน้าตนอันเป็นเท็จ
(๒) รับรองเป็นหลักฐานว่าได้มีการแจ้งซึ่งข้อความอันมิได้มีการแจ้ง
(๓) ละเว้นไม่จดข้อความซึ่งตนมีหน้าที่ต้องรับจด หรือจดเปลี่ยนแปลงข้อความเช่นว่านั้น หรือ
(๔) รับรองเป็นหลักฐานซึ่งข้อเท็จจริงอันเอกสารนั้นมุ่งพิสูจน์ความจริงอันเป็นเท็จ
- ถ้าปลอมแล้วไม่ต้องพิจารณาเท็จตามมาตรานี้ เท็จไม่ใช่ปลอม
- ถ้าผิดมาตรานี้จะผิดมาตรา ๑๕๗ ด้วยเสมอ * ระวังลงโทษ ๑๕๗ บทหนัก*
- ถ้าไม่เป็นเจ้าพนักงานที่มีหน้าที่ ไม่ผิดมาตรานี้
- ต้องเป็นเจ้าพนักงานที่มีหน้าที่ด้วย
- ถ้าเลือกปฏิบัติได้ไม่ใช่หน้าที่
- จะต้องเป็นการปฏิบัติตามหน้าที่ ถ้าเป็นการกระทำส่วนตัวไม่ผิด
ทำเอกสาร ได้แก่ แสดงข้อความเป็นของตนเอง ลงลายมือชื่อ
ฎีกาที่น่าสนใจ
ฎีกาที่ ๔๒๐๑/๒๕๓๖
ผู้ใหญ่บ้านรับแจ้งการตายที่เป็นเท็จขึ้น แล้วนำใบรับแจ้งนั้นไปยื่นต่อนายทะเบียนให้ออกมรณบัตร แล้วนำไปยื่นต่อศาลเพื่อขอคืนหลักประกัน ทั้งเบิกความเท็จต่อศาลว่าผู้ตายได้ตายไปแล้ว เป็นความผิดตามมาตรา ๑๓๗, ๑๕๗, ๑๖๗ (๑) (๔), ๒๖๗, ๑๗๗ ว หนึ่ง (ออก ๔๗/๑)
ตัวอย่าง
นายแดงเป็นผู้ใหญ่บ้านได้ทำในรับแจ้งการตายว่านายดำได้ตายแล้ว แล้วนำใบรับแจ้งนั้นไปยื่นต่อนายทะเบียนให้ออกมรณะบัตร จากนั้นนำไปยื่นต่อศาลเพื่อขอคืนหลักประกันที่นายแดงได้ยื่นประกันนายดำไว้ในคดีลักทรัพย์ ในการยื่นต่อศาลนั้นนายแดงได้เบิกความว่า นายดำตายแล้ว นายแดงจะมีความผิดฐานใดบ้าง
ตอบ การที่นายแดงซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านได้ทำใบรับแจ้งการตายเป็นเท็จเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ทำเอกสาร รับรองเอกสารซึ่งตนได้กระทำขึ้นนั้นเป็นเท็จ ตาม ป.อาญา ๑๖๒ (๑) และรับรองเป็นหลักฐานซึ่งข้อเท็จจริงอันเอกสารนั้นมุ่งพิสูจน์ความจริงอันเป็นเท็จ ตาม ป.อาญา ๑๖๒ (๔)
การที่นายแดงซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านทำเอกสารอันเป็นเท็จและรับรองเอกสารอันมุ่งพิสูจน์ความจริงอันเป็นความเท็จ นายแดงมีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัตหน้าที่โดยมิชอบ หรือปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ตาม มาตรา ๑๕๗
และการที่นายแดงนำใบรับแจ้งเท็จนั้นไปยื่นต่อนายทะเบียนให้ออกมารณะบัตรเป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงาน ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหายตามมาตรา ๑๓๗ และยังมีความผิดฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการซึ่งมีวัตถุประสงค์ใช้เป็นพยานหลักฐาน โดยประการที่น่าจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ตามมาตรา ๒๖๗
นอกจากนั้นการที่นายแดงได้นำเอกสารดังกล่าวไปยื่นต่อศาลเพื่อขอถอนประกันเป็นการเบิกความเท็จ นายดำจึงมีความผิดฐานเบิกความเท็จตามมาตรา ๑๗๗ อีกกระทงหนึ่งด้วย
สรุป นายแดงมีความผิดฐาน รับรองเอกสารเท็จ ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ แจ้งความเท็จ แจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จ และเบิกความเท็จ
๒๖๗ “ผู้ใดแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารมหาชน หรือเอกสารราชการ ซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐาน โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
- ถ้าเจ้าพนักงานรู้ เจ้าพนักงานผิด ๑๖๒ ผู้แจ้งผิด ๑๖๒ ๘๖
- ถ้าเจ้าพนักงานไม่รู้ว่าข้อความเป็นเท็จ ผู้แจ้งผิด ๒๖๗ เจ้าพนักงานไม่ผิด
แต่ตามคำพิพากษาว่าผู้แจ้งผิด ๒๖๗
- ต้องเป็นเท็จในข้อสาระสำคัญ
- เจ้าพนักงานต้องมีหน้าที่ในการกรอกด้วย
- ต้องเป็นเจ้าพนักงานเท่านั้น ถ้าเป็นผู้ประกอบอาชีพอย่างอื่น ไม่ใช่เจ้าพนักงาน เช่น
มาตรา ๒๖๙ “ ผู้ใดในการประกอบการงานในวิชาชีพแพทย์ กฎหมาย บัญชี หรือวิชาชีพอื่นใด ทำคำรับรองเป็นเอกสารอันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
ผู้ใดโดยทุจริตใช้หรืออ้างคำรับรองอันเกิดจากการกระทำผิดตามวรรคแรกต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน”
ถ้าผิดทั้ง ๑๖๒ และ ๒๖๙ ต้องตอบทั้ง ๒ มาตรา
-การรับรองเป็นหลักฐานตาม ๑๖๒ ต้องทำเป็นหนังสือ
- ผิดฐานทำเอกสารเท็จหรือรับรองเอกสารเท็จ มักจะผิดฉ้อโกงด้วย
แต่ถ้าไม่ผิดทำเอกสารเท็จ หรือไม่ผิดรับรองเอกสารเท็จ ก็ไม่ผิดฉ้อโกง
- ผิด ๑๖๒ อย่าลืม ๑๕๗ ด้วย
- คนอื่นจด ตัวเองไม่ได้จดก็ไม่ผิด
ตัวอย่าง ผู้รับเหมาก่อสร้างบ้านพักของข้าราชการ ทำงานไม่แล้วเสร็จตามสัญญา แต่รายงานว่าแล้วเสร็จตามสัญญา เจ้าพนักงานผู้ตรวจเอกสารรับงาน ลงชื่อรับรองในเอกสารรับงาน ทำให้ทางการหลงเชื่อจ่ายเงินไป
เจ้าพนักงานผิดรับรองเป็นหลักฐานซึ่งข้อเท็จจริงอันเป็นเท็จ อันเอกสารมุ่งพิสูจน์ความจริงอันเป็นเท็จ ๑๖๒ (๔) และผิดฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบทำให้ราชการเสียหาย ๑๕๗ และยังผิดฐานร่วมกันสนับสนุนผู้รับเหมาฉ้อโกงราชการ ๓๔๑,๘๖ และแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน ตาม ๑๓๗
ผู้รับเหมาผิด สนับสนุนเจ้าพนักงาน ๑๖๒ (๔) ๑๕๗ ประกอบ ๘๖ ฉ้อโกงและแจ้งความเท็จ ๓๔๑ ๑๓๗
คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๒๐๓/๓๒ ๒๒๐๕/๓๒
มาตรา ๑๖๒
ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ทำเอกสาร กรอกข้อความลงในเอกสาร หรือดูแลรักษาเอกสาร กระทำการปลอมเอกสารโดยอาศัยโอกาสที่ตนมีหน้าที่นั้น ต้องระวางโทษ
- เจ้าพนักงานทำปลอมเอกสารผิด ๑๖๑ ๒๖๕ และ ๒๖๘ ได้ ลงโทษบทหนัก ๑๖๑
หน้าที่ทำเอกสารคือ มีอำนาจลงลายมือชื่อในเอกสาร
-ราษฎรร่วมกับเจ้าพนักงานตาม ๑๖๑ ราษฎรผิดสนับสนุน หรืออาจจะผิด ๒๖๔ ได้
แต่ถ้าเจ้าพนักงานไม่ผิด ราษฎรไม่ผิดด้วย
ทำเอกสารเท็จหมายความว่า เป็นเอกสารของตนเอง ตนมีหน้าที่ทำได้ แต่ไม่ตรงต่อความจริง ถ้าไม่มีอำนาจจะเป็นปลอม
เอกสารเท็จแก้ไขได้ แต่ถ้าพ้นอำนาจของตนแล้วจะเป็นปลอมเอกสาร
ม. ๑๖๑ ต้องอาศัยโอกาสที่ตนมีด้วย
มาตรา ๑๗๒ แจ้งเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญา

มาตรา ๑๗๒ ผู้ใดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญา แก่พนักงานอัยการ ผู้ว่าคดี พนักงานสอบสวน หรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย ต้องระวางโทษ
- ถ้ารู้อยู่แก่ใจว่าเท็จ แม้ที่ไปแจ้งจะตรงตามความจริงก็ผิด
- ให้การในฐานะผู้ต้องหา ไม่ผิด ๑๗๒
- ต้องเป็นกรณีที่ผู้แจ้งได้แกล้ง หรือรู้อยู่แล้วว่าไม่ผิดแต่แกล้งแจ้ง
- การแจ้งข้อความคลาดเคลื่อนไม่เป็นแจ้งเท็จเสมอไป
- ไม่เกี่ยวกับคดีอาญาไม่ผิด เช่น แจ้งเรื่องวินัย
- ศาล ผู้พิพากษา ไม่ใช่เจ้พนักงานตาม ๑๗๒
- ผิด ๑๗๒ แล้วไม่ผิด ๑๓๗ อีก (ฎีกา ๒๐๒๗/๒๖) (ผิดบทเฉพาะแล้ว ไม่ผิดบททั่วไป)
- แต่ถ้าผิด ๑๓๗ อาจผิด ๑๗๒ ได้ด้วย (ผิดบททั่วไป อาจผิดบทเฉพาะได้ด้วย)
มาตรา ๑๗๔ ฟ้องเท็จ
มาตรา ๑๗๔ ผู้ใดเอาความอันเป็นเท็จฟ้องผู้อื่นต่อศาลว่ากระทำความผิดอาญา หรือกระทำผิดอาญาเกินกว่าที่เป็นจริง
- ฟ้องต่อศาลด้วยข้อความเท็จ
- เพียงแต่ส่งคำฟ้องต่อเจ้าพนักงานศาลก็ถือว่าเป็นฟ้องแล้วไม่จำต้องรับฟ้อง
- ความอันเป็นเท็จต้องเป็นหลักสำคัญในเนื้อหา
- ฟ้องเท็จคดีแพ่งไมผิด
- ต้องรู้ข้อเท็จจริงว่าข้อความที่ฟ้องเป็นเท็จ
มาตรา ๑๗๗ เบิกความเท็จ
มาตรา ๑๗๗ ผู้ใดเบิกความเท็จในการพิจารณาคดีต่อศาล ถ้าความเท็จนั้นเป็นข้อสำคัญในคดีต้องระวางโทษ

- การเบิกความถือตามที่ศาลจดเป็นสำคัญ ถ้าศาลไม่จดลงไว้ไม่ถือเป็นคำเบิกความ
- ไม่จำเป็นต้องเป็นคดีอาญา เป็นคดีแพ่งก็ได้
- ต้องเป็นข้อสาระสำคัญ คือข้อที่จะทำให้พยานหลักฐานมีน้ำหนัก ทำให้ผลของคดีแพ้ชนะกันได้
มาตรา ๑๗๙ ทำพยานหลักฐานเป็นเท็จ
มาตรา ๑๗๙ ผู้ใดทำหลักฐานอันเป็นเท็จเพื่อให้เจ้าพนักงานสอบสวนหรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญาเชื่อว่ามีความผิดคดีอาญาเกิดขึ้น หรือเชื่อว่าความผิดคดีอาญาที่เกิดขึ้นนั้นร้ายแรงกว่าที่เป็นจริง ต้องระวางโทษ
- แจ้งความเท็จ แล้วส่งมอบเอกสารที่ตนทำเท็จให้ตำรวจ เป็นความผิดทั้งแจ้งความเท็จและทำพยานหลักฐานเท็จได้ (ทำไว้ก่อน)
- ผู้ต้องหาซัดทอดคนอื่นเท่านั้น ไม่ได้ทำพยานหลักฐานใดขึ้นไม่ผิด
- ต้องเป็นหลักฐานที่เป็นความผิดอาญา
มาตรา ๑๔๑ ทำลายเอกสาร
มาตรา ๑๔๑ ผู้ใดถอน ทำให้เสียหาย ทำลาย หรือทำให้ไร้ประโยชน์ ซึ่งตราหรือเครื่องหมายอันเจ้าพนักงานได้ประทับหรือหมายไว้ที่สิ่งใด ๆ ในการปฏิบัติตามหน้าที่ เพื่อเป็นหลักฐานในการยึด อายัด หรือรักษาสิ่งนั้น ๆ ต้องระวางโทษ

- เลขทะเบียนปืน ไม่ใช่ตราหรือเครื่องหมายตาม ๑๔๑
มาตรา ๑๔๒
ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสีย ทำให้สูญหายหรือไร้ประโยชน์ ซึ่งทรัพย์สินหรือเอกสารใด ๆ อันเจ้าพนักงานได้ยึดหรือรักษาไว้หรือสั่งให้ส่งเพื่อเป็นหลักฐานหรือเพื่อบังคับให้เป็นไปตามกฎหมาย ไม่ว่าเจ้าพนักงานจะรักษาทรัพย์สินหรือเอกสารนั้นไว้เอง หรือสั่งให้ผู้นั้นหรือผู้อื่นส่งหรือรักษาไว้ก็ตาม ต้องระวางโทษ

- คำว่าเอาไปเสีย อาจผิดฐานลักทรัพย์ด้วย
- ความผิดฐานยักยอก ๓๕๒ เกี่ยวพัน ๑๔๒ มาก และอาจจะเกี่ยวเนื่องถึง ๑๔๗ ด้วย
- ตำรวจสับเปลี่ยนของกลางผิด ๑๔๒ ด้วย
- ต้องมีผลเกิดขึ้นจึงเป็นความผิดสำเร็จ
- รอยสักไม่อยู่ในความหมาย ๑๔๒
มาตรา ๑๘๘
ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสีย ทำให้สูญหายหรือไร้ประโยชน์ ซึ่งพินัยกรรมหรือเอกสารใด ๆ ของผู้อื่น ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ต้องระวางโทษ
มาตรา ๑๘๘ ต้องจำให้ได้ เพราะมักจะผสมอยู่กับข้ออื่นๆ ทั่วไป
- เป็นเอกสารทั่ว ๆ ไปหรือพินัยกรรม
มาตรา ๑๘๔ ผู้ใดเพื่อจะช่วยผู้อื่นมิให้ต้องรับโทษ หรือได้รับโทษน้อยลง ทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสีย หรือทำให้สูญหายหรือไร้ประโยชน์ ซึ่งพยานหลักฐานในการกระทำผิด ต้องระวางโทษ
มาตรา ๑๕๘
ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสีย ทำให้สูญหายหรือไร้ประโยชน์ซึ่งทรัพย์หรือเอกสารใด อันเป็นหน้าที่ของตนที่จะปกครองหรือรักษาไว้ หรือยินยอมให้ผู้อื่นกระทำเช่นนั้น ต้องระวางโทษ
- ไม่ทุจริตก็ผิด
-ถ้าผิด ๑๔๗ แล้วไม่ผิด ๑๕๘
มาตรา ๑๔๗
ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใด เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนเองหรือผู้อื่น หรือโดยทุจริตให้ผู้อื่นเอาทรัพย์นั้นไปเสีย ต้องระวางโทษ
- ตำรวจยักยอกปืนราชการ ผิด ๑๔๗ ไม่ใช่ ๑๕๘
- ถ้าผิด ๑๔๒ ไม่ต้องปรับ ๑๕๘ อีก
ฎีกาที่น่าสนใจ ๗๔๔-๗๔๕/ ๑๕
ตำรวจยักยอกปืนที่รับไว้ในราชการ เป็นความผิด ๑๔๗ ไม่ใช่ ๑๕๘
เมื่อผิด ๑๔๗ แล้วไม่ผิด ๑๕๘ อีก (กลับฎีกาเดิม)
- ๑๔๗ ต้องทุจริต
- ๑๕๘ ไม่ทุจริตก็ผิด
มาตรา ๑๕๙
ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ดูแลรักษาทรัพย์หรือเอกสารใด กระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่ โดยถอน ทำให้เสียหาย ทำลาย หรือทำให้ไร้ประโยชน์ หรือโดยยินยอมให้ผู้อื่นกระทำเช่นนั้น ซึ่งตราหรือเครื่องหมายซึ่งเจ้าพนักงานได้ประทับหรือหมายไว้ที่ทรัพย์หรือเอกสารนั้นในการปฏิบัติการตามหน้าที่เพื่อเป็นหลักฐานในการยึดหรือรักษาสิ่งนั้น ต้องระวางโทษ
- เจ้าพนักงานยอมให้เอกชนกระทำตาม ๑๔๑ ผิด ๑๕๙ สำเร็จทันที
มาตรา ๑๔๒ ๑๕๘ ๑๘๔ ๑๘๘ ถ้าออกข้อสอบจะอยู่ในกลุ่มเดียวกัน
ถ้าผิด ๑๔๒ หรือ ๑๕๘ จะผิด ๑๘๔ ด้วย
เอาศพไปฝังผิด ๑๘๔
จ้างให้พยานเบิกความเท็จผิด ๑๘๔
ในทางปฏิบัติ ๑๘๔ มีความสำคัญมาก
๑๘๔ หมายถึงความผิดทางอาญาไม่ใช่แพ่ง
ช่วยตัวเองไม่ผิด ๑๘๔

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Custom Search